http://www.kanommaeoey.com/home_th.html
"ดิสรณ์ มาริษชัย"
เจ้าของธุรกิจขนมเปี๊ยะแบรนด์ "ขนมแม่เอย"
แรกเริ่มมุ่งพัฒนาธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ภายใต้แบรนด์ดังกล่าว ควบคู่กับการผลิตวัตถุดิบไส้ขนมป้อนธุรกิจเบเกอรี่แบรนด์ดัง อย่าง บลูคอฟฟี่ A&W ดันกิ้น โดนัท ชัยวัฒน์เบเกอรี่ และภัตตาคารต่างๆ
เนื่องจากเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบ และมีสูตรของตนเอง จึงได้มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งรสชาติรูปลักษณ์ใหม่ ๆเพื่อหาลู่ทาง และช่องว่างในธุรกิจ กับโอกาสของธุรกิจเบเกอรี่ที่สดใสในประเทศไทย โดยได้เปลี่ยนรูปลักษณ์จากขนมเปี๊ยะก้อนกลม ๆ ที่เห็นวางขายทั่วไปและเหมือนกันเกือบทั่วโลกนั้น เปลี่ยนไปเป็นขนมเปี๊ยะการ์ตูนต่างๆ และรูปสัตว์ต่างๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้เท่าตัว
ล่าสุด ดิสรณ์ ได้สร้างนวัตกรรมใหม่ให้แก่สินค้า โดยพัฒนาสูตรขนมเปี๊ยะไส้ผลไม้ล้วนๆ 100% เช่น มะตูม กล้วย มะม่วง ขนุน เมล็ดทานตะวัน และธัญพืช พร้อมส่วนผสมของมาการีนที่ใช้เป็นส่วนผสมหลักในเบเกอรี่จากตะวันตก
ทั้งนี้ เขาต้องการความผสมผสานในรสชาติระหว่างขนมเปี๊ยะของเอเชียกับกลิ่นหอมของเบเกอรี่ตะวันตก โดยเนื้อแป้งที่ยังขาวนวล แต่ความหอมเมื่ออบเปลือกขนมจากกลิ่นมาการีน วางโพซิชั่นขนมเปี๊ยะเช่นเดียวกับเบเกอรี่
"ผมตั้งชื่อแบรนด์ขนมที่มีนวัตกรรมใหม่นี้ว่า Monjo ซึ่งเป็นภาษาญี่ปุ่นใช้เรียกขนมประเภทสอดไส้ เช่นเดียวกันที่จีนที่เรียกว่า เปา ทั้งนี้ได้นำภาษาญี่ปุ่นมาใช้เรียกเพื่อสร้างความเก๋ให้กับตัวสินค้า มองแล้วเป็นธุรกิจที่มีอนาคตสามารถขยายในต่างประเทศได้ ซึ่งคาดจะเห็นใน 1-2 ปีข้างหน้านี้"
ดิสรณ์ ใช้เวลาทดลองตลาดมานานกว่า 6 เดือน วางจำหน่ายในงานแสดงสินค้าต่างๆ โดยไม่ติดแบรนด์ ปรากฏว่ารสชาติและรูปลักษณ์การ์ตูนต่างๆ นั้นได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และเกิดการซื้อซ้ำ ด้วยติดใจในรสชาติและรูปลักษณ์ที่แตกต่างจากขนมเปี๊ยะทั่วไป ทำให้ได้กลิ่นหอมอย่างเบเกอรี่ รสเค็มหวานจากผลไม้ ทำให้เขาเกิดความมั่นใจต่อสินค้า และจะใช้แบรนด์ Momjo นี้บุกตลาดขยายเครือข่ายในรูปแบบแฟรนไชส์
ในเบื้องต้นนี้ เตรียมสร้างร้านต้นแบบ เป็นร้านสะแตนอะโลน ขนาดพื้นที่ 12-15 ตร.ม. มูลค่าการลงทุน 6 แสนบาท เจาะพื้นที่ในห้างสรรพสินค้า โดยบริษัทจะขยายเองก่อน 4 สาขา และเล็งขยายเครือข่ายออกทั่วประเทศโดยมีศูนย์กลางในภาคต่างๆ ซึ่งภายในพื้นที่ร้านจะมีการทำขนมสดๆ ให้ลูกค้าได้เห็น และเครื่องดื่มมีมีเข้ามาให้บริการ
ขณะที่แบรนด์ขนมแม่เอยนั้น ได้เตรียมแตกไลน์ออกสู่ขนมไทย เช่น ทองหยิบ ทองหยอด แต่มีรูปแบบและหน้าตาที่แตกต่างออกไปจากเดิม
และในส่วนของการค้าส่งและรับผลิตไส้ขนมให้กับรายต่างๆ นั้น จะขยายออกสู่ตลาดต่างประเทศ และที่เปิดตลาดต่างประเทศไว้แล้ว เช่น พนมเปญ และเตรียมเจรจาที่จีน
ดิสรณ์ กล่าวในตอนท้ายว่า ธุรกิจของบริษัทได้มีการขยายควบคู่กับอุตสาหกรรมเบเกอรี่ แต่ด้วยสินค้าเป็นเอเชีย ทำอย่างไรที่จะให้มีกลิ่นไอของตะวันตกควบคู่ไปด้วย ซึ่งได้ตีโจทย์ความต้องการจองผู้บริโภคออก รวมถึงการยอมรับรสชาติที่ร่วมสมัยมีกลิ่นของเบเกอรี่ตะวันตกเข้ามาผสม จึงนับเป็นนวัตกรรมอีกก้าวของสินค้า ที่หมายมั่นจะครอบคลุมทุกพื้นที่และอยู่ในใจของคนที่ชื่นชอบ
โดยมีรูปแบบแฟรนไชส์ ใช้เงินลงทุนสาขาละประมาณ 200,000 บาท แยกเป็นค่าเตาอบ 20,000 บาท ตู้โชว์ 30,000 บาท และคีออส 50,000 บาท ส่วนที่เหลือเป็นค่าบริหารแฟรนไชส์ อาทิ ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ค่าทำการตลาด เป็นต้น มีข้อกำหนดต้องสั่งวัตถุดิบขนม ?เปี้ยะ แอนด์ พาย? จากส่วนกลางเท่านั้น โดยผู้ลงทุนแฟรนไชส์จะมีกำไรจากยอดขายประมาณชิ้นละ 50%
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น