โดยไทยรัฐ เมื่อ 6 ก.ค.2553
ที่ จ.นครพนม ถึงแม้หลายพื้นที่จะประสบปัญหาภัยแล้งไม่สามารถทำนาและการเกษตรได้ตามปกติ รวมถึงสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ประชาชนรายได้ลดลง แต่สำหรับราษฎรบ้านตาล ต.นาหว้า อ.นาหว้า จ.นครพนม กลับไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากเป็นหมู่บ้านแห่งเดียวของนครพนมที่ยึดอาชีพสุดแปลกมานานกว่า 20 ปีคือทำตุ๊กแก ไส้เดือน และปลิง ตากแห้ง ส่งออกขายต่างประเทศหมุนเวียนตามฤดูกาลตลอดปี สร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับชาวบ้านได้เป็นอย่างดี สวนกระแสในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
นายคนึง มีพรหม นายอำเภอนาหว้า จ.นครพนม เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันที่ 6 ก.ค.ว่า สำหรับ ต.นาหว้า อ.นาหว้า ถึงแม้จะมีปัญหาเศรษฐกิจและภัยแล้ง แต่ชาวบ้านมีอาชีพทำตุ๊กแก ไส้เดือน และปลิง ตากแห้ง ส่งขายต่างประเทศ สร้างเงินหมุนเวียนเดือนละกว่า 10 ล้านบาท อำเภอได้เข้าไปดูแลส่งเสริมสนับสนุนบางส่วน ซึ่งถือว่าเป็นอาชีพหลัก
ขณะที่
นายปราณีต นางทราช อายุ 50 ปี ราษฎรบ้านตาล
ที่ยึดอาชีพทำตุ๊กแกตากแห้งส่งออก กล่าวว่า ทำมานานกว่า 20 ปีแล้ว รายได้ดี ไม่ว่าจะสภาพเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร ไม่มีผลกระทบ ช่วงนี้จะเป็นตุ๊กแกตากแห้ง คนที่ออกไปจับมาขายตัวละประมาณ 10 - 25 บาท ตามขนาด และชำแหละแปรรูปตามแบบมาตรฐานนำไปตากแห้งหรืออบ ก่อนแพ็กส่งขายให้พ่อค้าส่งออกไป จีน ไต้หวัน นำไปปรุงอาหาร เป็นยาชูกำลัง ในราคาตัวละประมาณ 30 บาท ตามขนาดเล็กใหญ่ มียอดส่งออกเดือนละหลายแสนตัว มีรายได้ครอบครัวละ 5,000 – 10,000 บาทต่อเดือน
นายปราณีต กล่าวอีกว่า ส่วนเรื่องปัญหาการสูญพันธุ์ของตุ๊กแกนั้นไม่มีอย่างแน่นอน เพราะในระยะเวลา 1 ปี จะมีช่วงพักประมาณเดือน ต.ค. – ม.ค. เป็นช่วงตุ๊กแกผสมพันธุ์ออกไข่ ซึ่งธรรมชาติของตุ๊กแกนั้น ขยายพันธุ์ได้เร็วและมีจำนวนมาก เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนก็จะไปทำปลิงตากแห้งแทน สำหรับตุ๊กแกที่นำมาผลิตนั้น จับตามบ้านเรือนทั่วไป ไม่ใช่ตุ๊กแกตามป่า จึงไม่ผิดตาม พ.ร.บ.สัตว์ป่าหวงห้าม ในอนาคตกำลังหาทางเลี้ยงขยายพันธุ์เป็นสัตว์เศรษฐกิจ
นายปราณีต กล่าวอีกว่า ส่วนเรื่องปัญหาการสูญพันธุ์ของตุ๊กแกนั้นไม่มีอย่างแน่นอน เพราะในระยะเวลา 1 ปี จะมีช่วงพักประมาณเดือน ต.ค. – ม.ค. เป็นช่วงตุ๊กแกผสมพันธุ์ออกไข่ ซึ่งธรรมชาติของตุ๊กแกนั้น ขยายพันธุ์ได้เร็วและมีจำนวนมาก เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนก็จะไปทำปลิงตากแห้งแทน สำหรับตุ๊กแกที่นำมาผลิตนั้น จับตามบ้านเรือนทั่วไป ไม่ใช่ตุ๊กแกตามป่า จึงไม่ผิดตาม พ.ร.บ.สัตว์ป่าหวงห้าม ในอนาคตกำลังหาทางเลี้ยงขยายพันธุ์เป็นสัตว์เศรษฐกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น