โดย นสพ.เดลินิวส์
ยุคนี้คนไทยนิยมรับประทานอาหารญี่ปุ่นกันไม่น้อย รวมถึงอาหารที่เรียกว่า “ซูชิ” ซึ่งก็มีผู้ที่นำเอาซูชิมาใช้เป็น “ช่องทางทำกิน” ได้อย่างน่าสนใจ ดังเช่นรายที่ทางทีมงานจะนำเสนอในวันนี้...
ศรีกาญจนา วงษ์ชื่น เจ้าของร้าน “ซูชิ ชิ้นละ 5 บาท” ทำขายกันใหม่ ๆ ที่ตลาดนัดหลังกระทรวงการคลัง ขายมาเกือบ 1 ปีแล้ว เธอบอกว่า ด้วยความที่ชอบทำสิ่งสวย ๆ งาม ๆ จึงเปลี่ยนจากอาชีพเดิมมองหาอาชีพใหม่ที่เกี่ยวข้องกับความชอบ ก็มีเพื่อนแนะนำให้ขาย “ซูชิ” พร้อมทั้งบอกวิธีทำ และสอนเทคนิคการทำเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ ซึ่งตนเองก็มีความมั่นใจในความคิดว่าอาหารประเภทนี้ยังพอมีทางไปได้แน่ ๆ แม้ว่าส่วนตัวจะไม่ค่อยชอบก็ตาม หลังจากหาทำเลขายได้แล้ว วันแรกก็ไปซื้อของ วันที่สองนั่งหัดทำที่บ้านทั้งวัน พอวันที่สามจึงออกขายเลย ซึ่งก็ไม่น่าเชื่อว่าขายหมดตั้งแต่วันแรก
เมื่อประสบผลสำเร็จในวันแรก จึงมุมานะพยายามมากขึ้น ด้วยการออกแบบหน้าซูชิต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีกเพื่อความหลากหลาย อันเป็นการสร้างแรงดึงดูดให้ลูกค้าแวะเวียนมาเยี่ยมเยียนร้านมากขึ้น จากเดิมที่หน้าซูชิในระยะเริ่มแรกมีเพียง 8-9 หน้า เมื่อ 8 เดือนผ่านไป หน้าซูชิก็มีเพิ่มขึ้นถึง 30 หน้าแล้ว และเธอก็ยิ่งมีความมั่นใจว่าอาหารประเภทซูชินี้มีอนาคตแน่นอน หากมีฝีมือ และมีทำเลที่ดี
ในแต่ละวัน ศรีกาญจนาจะใช้ข้าวญี่ปุ่น เฉลี่ยวันละ 7 กก. ซึ่งราคาค่อนข้างสูง คือประมาณ 60 บาท/1 กก. ไม่สามารถลดต้นทุนด้วยการใช้ข้าวไทยได้ เพราะร่วน ไม่เหนียว เวลาห่อออกมาแล้วข้าวแตก ไม่เกาะกัน
นอกเหนือจากข้าวแล้ว วัตถุดิบอื่น อาทิ หน้าซูชิต่าง ๆ แผ่นสาหร่าย ซอสญี่ปุ่น วาซาบิ ก็ควรสั่งซื้อจากที่เดียวกัน เพื่อป้องกันความสับสน
การหุงข้าว หุงด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าแบบปกติ แต่มีเทคนิคในการเพิ่มรสชาติให้ข้าวไม่จืดชืดด้วยการเติมน้ำซุปสูตรพิเศษ ซึ่งเป็นส่วนผสมระหว่างน้ำส้มสายชู 1 ถ้วย และน้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ ที่ละลายให้เข้ากัน ราดลงให้ทั่วข้าวหลังจากที่ข้าวสุกแล้ว จากนั้นถ่ายข้าวสุกใส่ในภาชนะพลาสติกสีขาวอย่างดี ตั้งพักไว้ให้ข้าวเย็นลง เพื่อจะได้ไม่ร้อนมือเวลาที่ปั้นข้าว และต่อมาก็จะเป็นการม้วนข้าว ซึ่งจะใช้สาหร่ายแผ่น ขนาดประมาณ 8X5 นิ้ว ในแต่ละวันถ้าใช้ข้าว 7 กก. จะใช้แผ่นสาหร่ายประมาณ 70-80 แผ่น
การม้วนข้าวนั้นจะมีอุปกรณ์ตัวช่วย 1 อย่างที่ขาดไม่ได้ คือ แผ่นไม้ม้วนข้าว ทำมาจากไม้ วางแผ่นสาหร่ายลงไปบนแผ่นม้วนข้าว ตักข้าวประมาณ 1 ทัพพีกว่า ๆ ลงไปบนแผ่นสาหร่าย เกลี่ยข้าวให้ทั่ว บีบมายองเนสตามแนวขวางบนแผ่นสาหร่ายด้านบน เพื่อทำหน้าที่เป็นกาวให้แผ่นสาหร่ายติดกันเวลาม้วน จากนั้นม้วนข้าวให้เป็นก้อนกลม ซึ่งการม้วนข้าวนี้กว่าจะม้วนให้ออกมาสวยก็ต้องฝึกกันหน่อย
ม้วนแล้วก็ใช้กรรไกรคมกริบตัดข้าวห่อสาหร่ายออกมาเป็นชิ้น ๆ ข้าวห่อสาหร่าย 1 แท่งจะตัดออกมาได้ 8 ชิ้น และข้าวสวย 7 กก. จะม้วนข้าวได้เท่ากับจำนวนสาหร่ายแผ่นที่ใช้ในแต่ละวัน
ต่อมาก็เป็นเรื่องของ “หน้าซูชิ” หน้าหลัก ๆ ที่จำเป็นต้องมีระยะเริ่มต้น มีเพียง 5-6 อย่างเท่านั้น ได้แก่ ไข่กุ้งส้ม 500 กรัม, ยำสาหร่ายเขียว 250-500 กรัม, กุ้งต้ม 100–150 ตัว, ปูอัด 100-150 ชิ้น, ไข่หวาน 500 กรัม, ปลาแซลมอน (ปลาดิบ) และครีมมายอง เนส หากขายแล้วได้กำไร ก็สามารถลงทุนซื้อหน้าเพิ่มได้อีก อาทิ ไข่กุ้งแดง ไข่กุ้งดำ ปลาไหล แมงกะพรุน ฯลฯ เพื่อเพิ่มความหลากหลายของสินค้า
หน้าซูชิหลัก ๆ ที่ต้องวางโชว์หน้าร้านแบบขาดไม่ได้มี 8-9 หน้า ได้แก่ หน้ากุ้ง, หน้าปูอัด, หน้าปลาแซลมอน (ปลาดิบ), หน้าไข่กุ้งส้ม, หน้ายำสาหร่ายเขียว, หน้ายำสลัดปูอัด, หน้าสลัดไข่กุ้งส้ม, หน้าไข่หวาน หลังจากนั้นก็เพิ่มความหลากหลายได้ถึง 30 หน้า อาทิ หน้าชีส, หน้าสลัดทูน่า, หน้าแมงกะพรุน, หน้าแฮม, หน้าปลาซาบะ, หน้าก้ามปู, หน้าหอยเชลล์ ฯลฯ โดยขายในราคาชิ้นละ 5 บาท
“ที่ร้านจะทำไปขายไป หากของเหลือก็จะไม่นำมาขายซ้ำอีก และของหมุนเวียนที่ใช้ทุกวันจะซื้อมาตุนคราวละจำนวนมาก ๆ แต่จะต้องให้หมดภายในเวลา 3 วัน” ศรีกาญจนาบอก
การทำหน้าซูชินั้น อารมณ์ต้องเย็น ต้องประณีตเพื่อความสวยงาม ที่สำคัญ ของที่ใช้แต่งหน้าซูชินั้น ต้องทำให้ดูมาก พูน น่าทาน ซึ่งก็ต้องตักเยอะจริง ๆ เมื่อลูกค้าซื้อไปทานแล้ว จะได้คุ้มค่าเงินที่จ่ายไป
สัดส่วนข้าวในปริมาณดังกล่าว ใช้เงินลงทุนวัตถุดิบรวมวันละประมาณ 3,000-4,000 บาท หากขายหมดจะได้เงินประมาณ 5,000-6,500 บาท ซึ่งล่าสุดกระแสความนิยมอาหารชนิดนี้ก็ยังไม่ตก
ศรีกาญจนา ขาย “ซูชิ ชิ้นละ 5 บาท” เป็น “ช่องทางทำกิน” อยู่ที่ตลาดนัดหลังกระทรวงการคลัง เยื้องกับ 7-11 ทุกวัน เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 07.00-13.30 น. ใครหาร้านไม่เจอก็ โทร. 08-1614-9593.
ศรีกาญจนา วงษ์ชื่น เจ้าของร้าน “ซูชิ ชิ้นละ 5 บาท” ทำขายกันใหม่ ๆ ที่ตลาดนัดหลังกระทรวงการคลัง ขายมาเกือบ 1 ปีแล้ว เธอบอกว่า ด้วยความที่ชอบทำสิ่งสวย ๆ งาม ๆ จึงเปลี่ยนจากอาชีพเดิมมองหาอาชีพใหม่ที่เกี่ยวข้องกับความชอบ ก็มีเพื่อนแนะนำให้ขาย “ซูชิ” พร้อมทั้งบอกวิธีทำ และสอนเทคนิคการทำเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ ซึ่งตนเองก็มีความมั่นใจในความคิดว่าอาหารประเภทนี้ยังพอมีทางไปได้แน่ ๆ แม้ว่าส่วนตัวจะไม่ค่อยชอบก็ตาม หลังจากหาทำเลขายได้แล้ว วันแรกก็ไปซื้อของ วันที่สองนั่งหัดทำที่บ้านทั้งวัน พอวันที่สามจึงออกขายเลย ซึ่งก็ไม่น่าเชื่อว่าขายหมดตั้งแต่วันแรก
เมื่อประสบผลสำเร็จในวันแรก จึงมุมานะพยายามมากขึ้น ด้วยการออกแบบหน้าซูชิต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีกเพื่อความหลากหลาย อันเป็นการสร้างแรงดึงดูดให้ลูกค้าแวะเวียนมาเยี่ยมเยียนร้านมากขึ้น จากเดิมที่หน้าซูชิในระยะเริ่มแรกมีเพียง 8-9 หน้า เมื่อ 8 เดือนผ่านไป หน้าซูชิก็มีเพิ่มขึ้นถึง 30 หน้าแล้ว และเธอก็ยิ่งมีความมั่นใจว่าอาหารประเภทซูชินี้มีอนาคตแน่นอน หากมีฝีมือ และมีทำเลที่ดี
ในแต่ละวัน ศรีกาญจนาจะใช้ข้าวญี่ปุ่น เฉลี่ยวันละ 7 กก. ซึ่งราคาค่อนข้างสูง คือประมาณ 60 บาท/1 กก. ไม่สามารถลดต้นทุนด้วยการใช้ข้าวไทยได้ เพราะร่วน ไม่เหนียว เวลาห่อออกมาแล้วข้าวแตก ไม่เกาะกัน
นอกเหนือจากข้าวแล้ว วัตถุดิบอื่น อาทิ หน้าซูชิต่าง ๆ แผ่นสาหร่าย ซอสญี่ปุ่น วาซาบิ ก็ควรสั่งซื้อจากที่เดียวกัน เพื่อป้องกันความสับสน
การหุงข้าว หุงด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าแบบปกติ แต่มีเทคนิคในการเพิ่มรสชาติให้ข้าวไม่จืดชืดด้วยการเติมน้ำซุปสูตรพิเศษ ซึ่งเป็นส่วนผสมระหว่างน้ำส้มสายชู 1 ถ้วย และน้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ ที่ละลายให้เข้ากัน ราดลงให้ทั่วข้าวหลังจากที่ข้าวสุกแล้ว จากนั้นถ่ายข้าวสุกใส่ในภาชนะพลาสติกสีขาวอย่างดี ตั้งพักไว้ให้ข้าวเย็นลง เพื่อจะได้ไม่ร้อนมือเวลาที่ปั้นข้าว และต่อมาก็จะเป็นการม้วนข้าว ซึ่งจะใช้สาหร่ายแผ่น ขนาดประมาณ 8X5 นิ้ว ในแต่ละวันถ้าใช้ข้าว 7 กก. จะใช้แผ่นสาหร่ายประมาณ 70-80 แผ่น
การม้วนข้าวนั้นจะมีอุปกรณ์ตัวช่วย 1 อย่างที่ขาดไม่ได้ คือ แผ่นไม้ม้วนข้าว ทำมาจากไม้ วางแผ่นสาหร่ายลงไปบนแผ่นม้วนข้าว ตักข้าวประมาณ 1 ทัพพีกว่า ๆ ลงไปบนแผ่นสาหร่าย เกลี่ยข้าวให้ทั่ว บีบมายองเนสตามแนวขวางบนแผ่นสาหร่ายด้านบน เพื่อทำหน้าที่เป็นกาวให้แผ่นสาหร่ายติดกันเวลาม้วน จากนั้นม้วนข้าวให้เป็นก้อนกลม ซึ่งการม้วนข้าวนี้กว่าจะม้วนให้ออกมาสวยก็ต้องฝึกกันหน่อย
ม้วนแล้วก็ใช้กรรไกรคมกริบตัดข้าวห่อสาหร่ายออกมาเป็นชิ้น ๆ ข้าวห่อสาหร่าย 1 แท่งจะตัดออกมาได้ 8 ชิ้น และข้าวสวย 7 กก. จะม้วนข้าวได้เท่ากับจำนวนสาหร่ายแผ่นที่ใช้ในแต่ละวัน
ต่อมาก็เป็นเรื่องของ “หน้าซูชิ” หน้าหลัก ๆ ที่จำเป็นต้องมีระยะเริ่มต้น มีเพียง 5-6 อย่างเท่านั้น ได้แก่ ไข่กุ้งส้ม 500 กรัม, ยำสาหร่ายเขียว 250-500 กรัม, กุ้งต้ม 100–150 ตัว, ปูอัด 100-150 ชิ้น, ไข่หวาน 500 กรัม, ปลาแซลมอน (ปลาดิบ) และครีมมายอง เนส หากขายแล้วได้กำไร ก็สามารถลงทุนซื้อหน้าเพิ่มได้อีก อาทิ ไข่กุ้งแดง ไข่กุ้งดำ ปลาไหล แมงกะพรุน ฯลฯ เพื่อเพิ่มความหลากหลายของสินค้า
หน้าซูชิหลัก ๆ ที่ต้องวางโชว์หน้าร้านแบบขาดไม่ได้มี 8-9 หน้า ได้แก่ หน้ากุ้ง, หน้าปูอัด, หน้าปลาแซลมอน (ปลาดิบ), หน้าไข่กุ้งส้ม, หน้ายำสาหร่ายเขียว, หน้ายำสลัดปูอัด, หน้าสลัดไข่กุ้งส้ม, หน้าไข่หวาน หลังจากนั้นก็เพิ่มความหลากหลายได้ถึง 30 หน้า อาทิ หน้าชีส, หน้าสลัดทูน่า, หน้าแมงกะพรุน, หน้าแฮม, หน้าปลาซาบะ, หน้าก้ามปู, หน้าหอยเชลล์ ฯลฯ โดยขายในราคาชิ้นละ 5 บาท
“ที่ร้านจะทำไปขายไป หากของเหลือก็จะไม่นำมาขายซ้ำอีก และของหมุนเวียนที่ใช้ทุกวันจะซื้อมาตุนคราวละจำนวนมาก ๆ แต่จะต้องให้หมดภายในเวลา 3 วัน” ศรีกาญจนาบอก
การทำหน้าซูชินั้น อารมณ์ต้องเย็น ต้องประณีตเพื่อความสวยงาม ที่สำคัญ ของที่ใช้แต่งหน้าซูชินั้น ต้องทำให้ดูมาก พูน น่าทาน ซึ่งก็ต้องตักเยอะจริง ๆ เมื่อลูกค้าซื้อไปทานแล้ว จะได้คุ้มค่าเงินที่จ่ายไป
สัดส่วนข้าวในปริมาณดังกล่าว ใช้เงินลงทุนวัตถุดิบรวมวันละประมาณ 3,000-4,000 บาท หากขายหมดจะได้เงินประมาณ 5,000-6,500 บาท ซึ่งล่าสุดกระแสความนิยมอาหารชนิดนี้ก็ยังไม่ตก
ศรีกาญจนา ขาย “ซูชิ ชิ้นละ 5 บาท” เป็น “ช่องทางทำกิน” อยู่ที่ตลาดนัดหลังกระทรวงการคลัง เยื้องกับ 7-11 ทุกวัน เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 07.00-13.30 น. ใครหาร้านไม่เจอก็ โทร. 08-1614-9593.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น