พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร.
พล.ต.ท.จิโรจน์ ไชยชิต ผช.ผบ.ตร.
พล.ต.ต.สมเดช ขาวขำ ผบช. สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ (บช.สทส.)
พล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รองผบช.น. ฝ่ายจราจร
พล.ต.ต.อุทัยวรรณ แก้วสะอาด ผบก.จร.
พล.ต.ต.วัฒนา เขตร์สมุทร ผบก.จว.ปทุมธานี
พล.ต.ต.สมชาย อินโต ผบก.น. 5 และ
นางเธียรทิพย์ ไชยชิต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ (สายงานบริหารบุคคล)บ.ไปรษณีย์ไทย จำกัด(มหาชน)
ร่วมกันแถลงการทดลองใช้
ระบบออกใบสั่งจราจรออนไลน์ (E-Ticket)
ซึ่งจะใช้จริงในวันที่ 7 ธันวาคมนี้
พล.ต.ท.สมเดช กล่าวว่า หลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร บก.น. 5 และบก.จร. เป็นพื้นที่นำร่องใช้งานใบสั่งจราจรออนไลน์มาแล้วระยะหนึ่ง ในวันที่ 7 ธ.ค.นี้ จะเริ่มใช้จริงกับประชาชน โดยตำรวจที่มีเครื่องออกใบสั่งออนไลน์จะเป็นตำรวจจราจร
พล.ต.ท.สมเดช กล่าวว่า หลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร บก.น. 5 และบก.จร. เป็นพื้นที่นำร่องใช้งานใบสั่งจราจรออนไลน์มาแล้วระยะหนึ่ง ในวันที่ 7 ธ.ค.นี้ จะเริ่มใช้จริงกับประชาชน โดยตำรวจที่มีเครื่องออกใบสั่งออนไลน์จะเป็นตำรวจจราจร
-สังกัด บก.น. 5และ บก.จร. จำนวน 20 เครื่อง และ
-ตำรวจจราจรในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 10 เครื่อง
รวม 30 เครื่อง
คาดว่า ภายใน 1 ปี จะใช้ได้ในพื้นที่กรุงเทพมหานครทั้งหมด
พล.ต.ท.สมเดช กล่าวต่อว่า ตำรวจจราจรผู้ออกใบสั่งจะป้อนข้อมูลในระบบสัมผัส ใช้เวลาไม่เกิน 1 นาที และสามารถตรวจสอบประวัติอาชญากรและข้อมูลรถหายได้ภายในไม่เกิน 30วินาที เนื่องจากเป็นข้อมูลบุคคล หรือข้อมูลยานพาหนะจะไปเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลใน
พล.ต.ท.สมเดช กล่าวต่อว่า ตำรวจจราจรผู้ออกใบสั่งจะป้อนข้อมูลในระบบสัมผัส ใช้เวลาไม่เกิน 1 นาที และสามารถตรวจสอบประวัติอาชญากรและข้อมูลรถหายได้ภายในไม่เกิน 30วินาที เนื่องจากเป็นข้อมูลบุคคล หรือข้อมูลยานพาหนะจะไปเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลใน
ระบบ Polis
ซึ่งเป็นฐานข้อมูลของสำนักงานตำรวจแห่งขาติ และข้อมูลานพาหนะที่เชื่อมโยงจาก กรมการขนส่งทางบกโดยอัตโนมัติ
จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจับกุมคนผู้กระทำความผิดและรถหายได้มากขึ้น สังคมก็จะปลอดภัย นอกจากนี้เชื่อว่าจะสามารถตัดตอนการเรียกรับผลประโยชน์จากตำรวจจราจรได้อีกด้วย ซึ่งอาศัยความร่วมมือทั้ง2 ฝ่าย คือ ทั้งตำรวจและผู้ขับขี่รถ ซึ่งผู้ที่ได้รับใบสั่งจากเครื่องนี้สามารถไปจ่ายค่าปรับออนไลน์ได้ที่ไปรษณีย์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ได้ที่สถานีตำรวจในพื้นที่ที่ถูกจับปรับ
ด้าน พล.ต.ต.ภาณุ กล่าวเพิ่มเติมว่า หน่วยงานที่ใช้เครื่องดังกล่าวเป็นสถานีตำรวจในสังกัด บก.น. 5 ประกอบด้วย
ด้าน พล.ต.ต.ภาณุ กล่าวเพิ่มเติมว่า หน่วยงานที่ใช้เครื่องดังกล่าวเป็นสถานีตำรวจในสังกัด บก.น. 5 ประกอบด้วย
- สน.วัดพระยาไกร
- สน.ลุมพินี
- สน.คลองตัน
- สน.บางโพงพาง
- สน.ทุ่งมหาเมฆ
- สน.พระโขนง
- สน.ท่าเรือ
- สน.ทองหล่อ
- สน.บางนา
โดยหลังจากนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรที่มีเครื่องมือดังกล่าว ซึ่งสามารถเช็คหมายจับ รถหายได้ จะช่วยงานสายสืบและสายตรวจ และร่วมในการตั้งด่านตรวจป้องกันเหตุอาชญากรรมด้วย ส่วนเรื่องนี้จะช่วยลดปัญหาการเรียกรับผลประโยชน์ได้หรือไม่นั้น ก็ต้องบอกว่า ถ้ามีเครื่องนี้คงขอยาก อย่างไรก็ตาม ภายใน 30 วัน จะมีการประเมินผลการใช้งาน เพื่อปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพที่ดีต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น