โดยข่าวสด เมื่อ 4 ม.ค.2554
ดร.เจฟฟรีย์ เอียน ลิปตัน ผู้นำโครงการ กล่าวว่า เพียงแค่ใส่วัตถุดิบปรุงอาหารลงไปในกระบอกฉีดหมึกพิมพ์ จากนั้นโหลดเมนู แล้วกดปุ่มทำงาน เครื่องจะเนรมิตรอาหารออกมาให้อย่างง่ายดาย
เครื่องพิมพ์อาหาร 3 มิติเป็นผลผลิตจากโครงการ "Fab@home" ใช้หลักการฉีดหมึกพิมพ์ของเครื่องปรินเตอร์ซึ่งพ่นหมึกวัตถุดิบทีละชั้น ทีละแถว เหมือนการทำงานของพิมพ์เขียวไฟฟ้าในเครื่องพิมพ์ โดยควบคุมการทำงานด้วยซอฟต์แวร์ CAD สำหรับการเขียนแบบออกแบบ
"สมมติว่าคุณชอบกินบิส กิต แต่อยากให้มันซ้อนกันหลายชั้นกว่าปกติ ก็เพียงกำหนดคำสั่งการทำงานต่างๆ จากปกติที่กระบอกฉีดหมึกจะรองรับเฉพาะของเหลวเท่านั้น ซึ่งคงจะใส่ได้แต่ชีส ช็อกโกแลต หรือ ส่วนผสมของเค้ก ทีมวิจัยจึงนำวัตถุดิบอื่นๆ มาแปรสภาพให้เป็นของเหลวเพื่อจะได้ฉีดพ่นผ่านกระบอกฉีดได้" ดร.ลิปตัน กล่าว
ทีมวิจัยประสบความสำเร็จในการทำคุกกี้ เค้กและซูชิ โฮมาโร คันตู เชฟในชิคาโก ที่ได้ทดลองทำซูชิ ด้วยเครื่องปรินเตอร์อิงก์เจ๊ต กล่าวว่า เครื่องปรินต์อาหารมีประโยชน์มากในการปรับปรุงวิธีผลิตอาหาร ทำให้ภาพการทำพายแอปเปิ้ลอยู่ที่บ้านเป็นเรื่องไม่ไกลเกินจริง เชื่อว่าในอนาคตเทคโนโลยีนี้จะแพร่หลายและประชากรโลกจะสนุกสนานกับการทำอาหารด้วยเครื่องปรินต์ 3 มิติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น