โดย ASTV ผู้จัดการรายวัน เมื่อ 3 ต.ค.2554
จากงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการฟุตบอลอาชีพแห่งประเทศไทยเมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ภายหลังบรรยากาศอันชื่นมื่นซึ่ง ทีมชาติไทย ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมในศึกฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบสาม กลุ่มดี ที่บุกไปพ่าย ออสเตรเลีย แบบหวุดหวิดก่อนกลับมาถล่ม โอมาน ในบ้าน วินฟรีด เชเฟอร์ กุนซือชาวเยอรมันผู้สร้างความสุขให้แฟนลูกหนังไทยได้ฝากข้อคิดไว้อย่างน่าสนใจว่า “เราควรอาศัยจังหวะนี้ในการทำงานหนักขึ้นเพื่อต่อยอดพัฒนาวงการฟุตบอล แม้จะประสบความสำเร็จกับผลการแข่งขันในช่วงที่ผ่านมา แต่เราจะพอใจแค่นี้ไม่ได้ ต้องคิดวิเคราะห์ว่าควรจะทำอย่างไรเพื่อให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมอีก”
หากพิจารณาถึงจุดมุ่งหมายในการจัดงานดังกล่าวขึ้นมาซึ่ง “วินนี” ระบุว่าเป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับโค้ชของทั้ง 18 สโมสรในศึกสปอนเซอร์ ไทยพรีเมียร์ลีก เพื่อประสานงานขอความร่วมมือ อันเป็นสิ่งที่สมาคมฟุตบอลใหญ่ๆ ในยุโรป เช่น เยอรมนี, อังกฤษ, สเปน, อิตาลี ทำกันเป็นปกติ และยังมีความสำคัญในการพัฒนาวงการฟุตบอลภายในประเทศร่วมกันด้วย เราพอจะตีความได้ว่าโค้ชจากเมืองเบียร์ต้องการให้มีใครสักคนเป็นผู้ดำเนินการเรื่องแผนงานเพื่อสร้างความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืนของวงการฟุตบอลไทยทั้งระบบ ซึ่งบทบาทหน้าที่นี้อยู่ในขอบข่ายความรับผิดชอบของ “ประธานฝ่ายพัฒนาเทคนิค”
ด้าน วิทยา เลาหกุล ผู้จัดการทีมชลบุรี เอฟซี ซึ่งเคยได้รับการเซ็นสัญญากับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ เข้ามาเป็นประธานฝ่ายพัฒนาเทคนิคก่อนถูกยกเลิกไป อธิบายถึงบทบาทหน้าที่ของตำแหน่งนี้ว่าจะต้องดูแลการบริหารโครงสร้างฟุตบอลทั้งระบบตั้งแต่ทีมชาติทุกชุด เรื่อยไปจนถึงการวางแผนพัฒนาผู้เล่นเยาวชนและโค้ชภายในประเทศด้วย
“โค้ชเฮง” แจกแจงรายละเอียดเกี่ยวกับหน้าที่เพิ่มเติมว่า “ผมขอยกตัวอย่างที่ทีมหญิงไปแข่งปรีโอลิมปิก โซนเอเชีย รอบ 6 ทีมสุดท้ายซึ่งเราแพ้ทุกนัดกลับมา ประธานเทคนิคก็ต้องติดตามแล้วประเมินว่าแพ้เพราะอะไรเพื่อหาทางแก้ไขภายหลัง โดยเรียกโค้ชสโมสรในประเทศมาหารือร่วมกัน และก่อนการแข่งขันครั้งต่อไปก็ต้องส่งคนไปหาข้อมูลคู่แข่งเพื่อนำมาให้โค้ชวางแผนรับมือ ส่วนการพัฒนาเยาวชนก็ต้องวางโปรแกรมให้มีการแข่งขันอย่างต่อเนื่องในแต่ละรุ่นควบคู่ไปกับการสรรหาบุคลากรมาจัดอบรมโค้ชภายในประเทศทุกระดับอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้โค้ชนำรูปแบบการฝึกสอนใหม่ๆ ไปใช้กับผู้เล่นทั้งในสโมสรอาชีพ ทีมสมัครเล่นและทีมโรงเรียน”
สำหรับคุณสมบัติของคนที่จะมาเป็นประธานฝ่ายพัฒนาเทคนิค โค้ชเฮง กล่าวว่า “คนที่ทำตำแหน่งนี้จะต้องคลุกคลีอยู่กับฟุตบอลอย่างใกล้ชิด มีสายสัมพันธ์ในวงการอย่างกว้างขวาง และที่สำคัญต้องมีความรู้ความสามารถ ไม่ใช่ให้คนที่มียศทางทหารหรือตำแหน่งทางการเมืองเข้ามาสวมหัวโขนแล้วไม่ได้ทำอะไร ถ้าเราอยากเห็นวงการฟุตบอลไทยพัฒนาอย่างจริงจัง สมาคมฯ ก็ควรมีการแต่งตั้งประธานฝ่ายพัฒนาเทคนิคที่ทำงานจริงๆ”
ด้าน “โค้ชป้ำ” วรวรรณ ชิตะวณิช กุนซือเอสซีจี สมุทรสงคราม ซึ่งผ่านประสบการณ์คุมทีมที่ประเทศสิงคโปร์เป็นเวลานานถึง 12 ปีกล่าวเสริมว่า “คนทำตำแหน่งนี้ต้องมีประสบการณ์ในวงการฟุตบอลพอสมควร ตลอดจนมีสายสัมพันธ์ที่กว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่วนบทบาทหน้าที่นั้น เท่าที่ผมเคยสัมผัสมาในสิงคโปร์ จะมีการเรียกโค้ชมาฝึกอบรมอย่างน้อย 2-3 ครั้งในทุกๆ 1-2 เดือน แต่ที่นี่กลับไม่มีเลย ตอนนี้ลีกบ้านเราพัฒนาขึ้นมาจนแซงหน้าเพื่อนร่วมอาเซียนแล้ว แต่นั่นเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งที่ดูเหมือนว่าเราประสบความสำเร็จในเรื่องการจัดการ หากต้องการให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนก็ควรแต่งตั้งประธานพัฒนาเทคนิคให้เป็นเรื่องเป็นราว เพื่อช่วยยกระดับวงการฟุตบอลบ้านเราให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม”
หากพิจารณาถึงจุดมุ่งหมายในการจัดงานดังกล่าวขึ้นมาซึ่ง “วินนี” ระบุว่าเป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับโค้ชของทั้ง 18 สโมสรในศึกสปอนเซอร์ ไทยพรีเมียร์ลีก เพื่อประสานงานขอความร่วมมือ อันเป็นสิ่งที่สมาคมฟุตบอลใหญ่ๆ ในยุโรป เช่น เยอรมนี, อังกฤษ, สเปน, อิตาลี ทำกันเป็นปกติ และยังมีความสำคัญในการพัฒนาวงการฟุตบอลภายในประเทศร่วมกันด้วย เราพอจะตีความได้ว่าโค้ชจากเมืองเบียร์ต้องการให้มีใครสักคนเป็นผู้ดำเนินการเรื่องแผนงานเพื่อสร้างความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืนของวงการฟุตบอลไทยทั้งระบบ ซึ่งบทบาทหน้าที่นี้อยู่ในขอบข่ายความรับผิดชอบของ “ประธานฝ่ายพัฒนาเทคนิค”
ด้าน วิทยา เลาหกุล ผู้จัดการทีมชลบุรี เอฟซี ซึ่งเคยได้รับการเซ็นสัญญากับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ เข้ามาเป็นประธานฝ่ายพัฒนาเทคนิคก่อนถูกยกเลิกไป อธิบายถึงบทบาทหน้าที่ของตำแหน่งนี้ว่าจะต้องดูแลการบริหารโครงสร้างฟุตบอลทั้งระบบตั้งแต่ทีมชาติทุกชุด เรื่อยไปจนถึงการวางแผนพัฒนาผู้เล่นเยาวชนและโค้ชภายในประเทศด้วย
“โค้ชเฮง” แจกแจงรายละเอียดเกี่ยวกับหน้าที่เพิ่มเติมว่า “ผมขอยกตัวอย่างที่ทีมหญิงไปแข่งปรีโอลิมปิก โซนเอเชีย รอบ 6 ทีมสุดท้ายซึ่งเราแพ้ทุกนัดกลับมา ประธานเทคนิคก็ต้องติดตามแล้วประเมินว่าแพ้เพราะอะไรเพื่อหาทางแก้ไขภายหลัง โดยเรียกโค้ชสโมสรในประเทศมาหารือร่วมกัน และก่อนการแข่งขันครั้งต่อไปก็ต้องส่งคนไปหาข้อมูลคู่แข่งเพื่อนำมาให้โค้ชวางแผนรับมือ ส่วนการพัฒนาเยาวชนก็ต้องวางโปรแกรมให้มีการแข่งขันอย่างต่อเนื่องในแต่ละรุ่นควบคู่ไปกับการสรรหาบุคลากรมาจัดอบรมโค้ชภายในประเทศทุกระดับอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้โค้ชนำรูปแบบการฝึกสอนใหม่ๆ ไปใช้กับผู้เล่นทั้งในสโมสรอาชีพ ทีมสมัครเล่นและทีมโรงเรียน”
สำหรับคุณสมบัติของคนที่จะมาเป็นประธานฝ่ายพัฒนาเทคนิค โค้ชเฮง กล่าวว่า “คนที่ทำตำแหน่งนี้จะต้องคลุกคลีอยู่กับฟุตบอลอย่างใกล้ชิด มีสายสัมพันธ์ในวงการอย่างกว้างขวาง และที่สำคัญต้องมีความรู้ความสามารถ ไม่ใช่ให้คนที่มียศทางทหารหรือตำแหน่งทางการเมืองเข้ามาสวมหัวโขนแล้วไม่ได้ทำอะไร ถ้าเราอยากเห็นวงการฟุตบอลไทยพัฒนาอย่างจริงจัง สมาคมฯ ก็ควรมีการแต่งตั้งประธานฝ่ายพัฒนาเทคนิคที่ทำงานจริงๆ”
ด้าน “โค้ชป้ำ” วรวรรณ ชิตะวณิช กุนซือเอสซีจี สมุทรสงคราม ซึ่งผ่านประสบการณ์คุมทีมที่ประเทศสิงคโปร์เป็นเวลานานถึง 12 ปีกล่าวเสริมว่า “คนทำตำแหน่งนี้ต้องมีประสบการณ์ในวงการฟุตบอลพอสมควร ตลอดจนมีสายสัมพันธ์ที่กว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่วนบทบาทหน้าที่นั้น เท่าที่ผมเคยสัมผัสมาในสิงคโปร์ จะมีการเรียกโค้ชมาฝึกอบรมอย่างน้อย 2-3 ครั้งในทุกๆ 1-2 เดือน แต่ที่นี่กลับไม่มีเลย ตอนนี้ลีกบ้านเราพัฒนาขึ้นมาจนแซงหน้าเพื่อนร่วมอาเซียนแล้ว แต่นั่นเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งที่ดูเหมือนว่าเราประสบความสำเร็จในเรื่องการจัดการ หากต้องการให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนก็ควรแต่งตั้งประธานพัฒนาเทคนิคให้เป็นเรื่องเป็นราว เพื่อช่วยยกระดับวงการฟุตบอลบ้านเราให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น