โดย นสพ.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ เมื่อ 13 มกราคม 2553
จีราวัฒน์ คงแก้ว
เมื่อกรุงเทพมหานครกำลังจะกลายเป็นเมืองสร้างสรรค์ นี่จึงเป็นโอกาสทองของเอสเอ็มอีคนเมือง ที่จะลุกขึ้นมา “เอาดี” กับงานครีเอทีฟ
บนพื้นที่ 1,568 ตารางกิโลเมตร ที่เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์ของความหลากหลายทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสังคม เมืองที่ชาวโลกยกให้เป็นสถานที่น่าเที่ยวติดอันดับมาหลายสมัย ที่นี่คือ “กรุงเทพมหานคร” ดินแดนที่มีพลเมืองเอสเอ็มอีอยู่ถึงกว่า 5 แสนราย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคการค้าและบริการ...
ในวันที่กระแสของ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) กำลังเฟื่องฟูรุ่งโรจน์ เมืองที่มีความพร้อมอย่างกรุงเทพ จึงถูกผลักดันให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ (Creative City) ของประเทศ ผลพลอยได้สำคัญที่จะตกถึงเอสเอ็มอีเมืองกรุงทั่วหัวระแหง คือนโยบายที่เน้นให้ผู้ประกอบการสร้างสรรค์ผลงานด้วยการออกแบบควบคู่กับการเอาใจใส่ต่อสิ่งแวดล้อม หัวใจสำคัญที่จะทำให้เอสเอ็มอีเติบโตได้อย่างเข้มแข็ง ส่งผลถึงเศรษฐกิจชาติที่มีความยั่งยืนต่อไปในอนาคต
"ภักดิ์ ทองส้ม" รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) หน่วยงานที่ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำการศึกษา “อัตลักษณ์” ของเอสเอ็มอีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร บอกว่า เอสเอ็มอีในแต่ละพื้นที่กรุงเทพ มีความหลากหลายแตกต่างกันทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยความหลากหลายนี้สามารถนำมาเชื่อมโยงและร้อยเรียงให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจที่มีความยั่งยืนได้
“เช่นพื้นที่เยาวราช สำเพ็ง ซึ่งเต็มไปด้วยแหล่งธุรกิจการค้ามากมาย สิ่งที่เชื่อมโยงและสร้างเสน่ห์ที่สามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้พื้นที่นี้ คือวัฒนธรรม และสังคมของชาวไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ที่เชื่อมโยงความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถเฉพาะตัวของผู้ประกอบการ สินทรัพย์และวัฒนธรรมของท้องถิ่นเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมขึ้น”
แล้วเอสเอ็มอีแบบไหนบ้าง ที่จะอยู่ในข่ายของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ “อภิรักษ์ โกษะโยธิน” ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร บอกว่า ถ้ามองกันตามทิศทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของรัฐบาล ทุกกลุ่มล้วนตรงกับเอสเอ็มอีทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น การนำเอามรดกทางวัฒนธรรมที่มีความเป็นเอกลักษณ์ เป็นภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ มาต่อยอดเป็นสินค้าหรือบริการ การทำงานเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม เทคโนโลยีทางด้านดิจิทัลและที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบทั้งหมด ซึ่งล้วนพบได้มากมายในพื้นที่กรุงเทพ
"กรุงเทพเป็นเมืองเก่า เมืองประวัติศาสตร์ของไทยมากว่า 220 ปี มีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์จำนวนมาก ชุมชนมีรากฐานทางวัฒนธรรม ผลิตภัณฑ์อย่างโอท็อป ผลิตภัณฑ์ที่สร้างขึ้นมาจากภูมิปัญญาไทยภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งงานช่าง งานฝีมือ อาหารไทย เหล่านี้สามารถต่อยอดได้หลากหลายสำหรับเอสเอ็มอี
เพียงแต่การทำเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เราต้องต่อยอด นั่นหมายความว่าถ้าจะแค่ผลิตและส่งออกเสื้อโหลเหมือนเดิมมันไม่ได้อีกแล้ว แต่ต้องต่อยอดด้วยการออกแบบดีไซน์ เพื่อจะเพิ่มราคาสินค้า และสร้างความมีเอกลักษณ์"
อย่างไรก็ตาม การจะให้เอสเอ็มอีทั่วกรุงเทพลุกขึ้นมาทำเรื่องดีไซน์ จุดไฟความคิดสร้างสรรค์ มันไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะคงไม่มีใครเก่งกาจเรื่องงานครีเอทีฟไปเสียทั้งหมด
แต่อยู่ที่ว่าใครเก่งเรื่องไหน ก็แสดงบทบาทของตัวเองอย่างสุดฝีมือก็สามารถเชื่อมโยงต่อยอดกันได้ในห่วงการสร้างสรรค์
“อภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล” ผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) มองว่า เศรษฐกิจสร้างสรรค์ คือธุรกิจที่ใช้ “แก่นของความคิดสร้างสรรค์” เป็นต้นทุนสำคัญในการผลิตสินค้าหรือบริการ ทำให้ไม่จำกัดเพียงธุรกิจขนาดยักษ์เท่านั้น แต่คนตัวเล็กอย่างเอสเอ็มอีก็ร่วมสร้าง เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้เกิดขึ้นได้
“เมื่อก่อนเราจะเห็นว่า มีไอศกรีมอยู่แค่ไม่กี่เจ้า แหล่งที่มาของไอศกรีมก็มาจากไม่กี่แหล่ง แต่ในวันนี้เรามีไอศกรีมที่มีหน้าตาแตกต่างกันไปเยอะมาก ซึ่งแต่ละร้านล้วนพยายามเสนอสูตรของตัวเอง เสนอการทำหน้าตาให้แตกต่างเป็นเอกลักษณ์ ธุรกิจสำคัญของเขาจึงไม่ได้ขายไอศกรีม แต่กำลังขาย “วิธีคิด” ที่จะทำให้คนสนุกกับการกินของหนึ่งก้อนที่เรียกว่าไอศกรีม”
นั่นคือตัวอย่างของความคิดสร้างสรรค์ “อภิสิทธิ์” บอกว่าไทยมีข้อได้เปรียบที่พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์เหมือนในหลายๆ ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นความมี “ตัวตน” มีเรื่องราว มีประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม มีภาษา มีทุกอย่างพร้อม สามารถหยิบมาเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์ ที่จะทำอะไรต่อไปได้ และการเป็นสังคมเปิด คือยอมรับความคิดที่แตกต่าง รวมถึงการมีกำลังพล คนมีทักษะ มีแรงงานช่างฝีมือชาวบ้านและช่างในระบบอุตสาหกรรมพร้อมรบ
“เศรษฐกิจสร้างสรรค์มันเป็นวิธีคิดที่ต้องโตมาจากสังคมของการบ่มเพาะทางความรู้ ไม่ใช่การอยู่ดีๆ นั่งแล้วฝันว่าอันนี้มันสวย มันสร้างสรรค์ แล้วทำออกมา แต่มันต้องเกิดจากความรู้ โตจากความรู้และเติมความคิดสร้างสรรค์ไปบนฐานความรู้นั้น มันถึงจะมีความเป็นไปได้”
อย่างไรในความพร้อมก็ยังมีข้ออ่อนด้อย ผู้บริหาร TCDC บอกเราว่า บ้านเรายังต้องปรับปรุงเรื่องของ เทคโนโลยี เพราะยังขาดนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นของเราเอง และขาดการลงทุนในแง่การต่อยอดทางความรู้
“คนที่ประสบความสำเร็จในสเกลใหญ่ๆ อย่างคนทำธุรกิจในยูทูบ เฟชบุ๊ค ทวิตเตอร์ เว็บไซต์เหล่านี้ ล้วนเริ่มจากแค่ คนสองคน แต่เขาเริ่มต้นจาก “วิธีคิด” อย่างยูทูบ แนวคิดที่จะสร้างสังคมหนึ่ง ซึ่งคนที่มีอะไรอยากโชว์เอาไปแปะไว้ อีกฝั่งหนึ่งอยากดูก็เข้าไปอ่าน สร้างสังคมอย่างนี้ขึ้นมาจนสำเร็จ คนทั้งโลกสนใจ ใช้เวลาเพียง 6 ปี เพิ่มมูลค่าของยูทูบ อยู่ที่กว่า 8 หมื่นล้าน สิ่งเหล่านี้ใช้วิธีคิดสร้างสรรค์เป็นแก่น เมื่อไรขาดความคิดสร้างสรรค์ธุรกิจก็เก็บกระเป๋า”
ด้าน “ดร.การดี เลียวไพโรจน์” อาจารย์คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บอกว่า ผู้ประกอบการในยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ต้องไม่คิดอะไรแบบเดิมๆ เมื่อลูกค้ายุคนี้ไม่ได้ต้องการสินค้าเหมือนๆ กัน แต่ต้องการความแตกต่าง ต้องการสุนทรียะในการใช้สินค้ามากขึ้น การจะต้องต้นทำธุรกิจออกมา จึงไม่ใช่เริ่มจากวิเคราะห์คู่แข่ง ดูว่าใครทำอะไรแล้วไปทำให้ดีกว่าเขา แต่ต้องเป็นการมองมุมกลับว่า “ความต้องการของลูกค้า” ที่แท้จริงคืออะไร แล้วผลิตสินค้านั้นออกมา
เมื่อได้ความคิดสร้างสรรค์ก็ต้องเอาความคิดนั้นไปขายให้ได้ด้วย ตามห่วงโซ่ความคิดสร้างสรรค์ที่ต้อง “คิดได้ ผลิตได้ และขายได้”
“การคิดได้ คนไทยมีความคิดสร้างสรรค์เป็นพรสวรรค์กันอยู่แล้ว คิดได้ สร้างสรรค์ได้ เราได้คะแนนสูงมาก แต่การรู้จักตลาด เรากลับสอบตก เพราะมักคิดว่าของเรานั้นทำดีแล้ว ทำอะไรออกมาก็จับยัดใส่มือลูกค้า ซึ่งเป็นวิธีคิดที่ผิด ก่อนทำอะไรออกมา เราต้องเข้าใจลูกค้าก่อน ว่าเขาต้องการอะไร จึงผลิต จึงลงทุน ด้านการผลิต และบริการ เรามีทรัพยากร แต่ต้องพัฒนาเรื่องมาตรฐาน การขายนอกจากความคิดสร้างสรรค์แล้ว เรื่องความปลอดภัย แหล่งที่มากระบวนการผลิตมันสำคัญ ต่างประเทศเขาดูเรื่องนี้เราจะละเลยไม่ได้ ทุกอย่างมันจึงต้องเป็นระบบ ส่วนการขายได้ก็ต้องผลักดันสู่ตลาดอย่างถูกที่ถูกจุด"
อาจารย์นักคิดบอกว่า การจะอยู่ในระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เอสเอ็มอีต้องสร้างความอยู่รอด ความเด่นชัด สร้างระบบที่ดี มีกระบวนการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และต้องมีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนมหาศาล แต่เลือกใช้ที่เหมาะและตรงตามสมัยนิยม สำหรับสร้างระบบการจัดการภายในและสื่อสารกับลูกค้า เป็นสำคัญ
หากกลไกทั้งหมดสมบูรณ์เราคงเห็นกรุงเทพเป็นเมืองสร้างสรรค์อีกแห่งบนแผนที่โลก
บนพื้นที่ 1,568 ตารางกิโลเมตร ที่เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์ของความหลากหลายทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสังคม เมืองที่ชาวโลกยกให้เป็นสถานที่น่าเที่ยวติดอันดับมาหลายสมัย ที่นี่คือ “กรุงเทพมหานคร” ดินแดนที่มีพลเมืองเอสเอ็มอีอยู่ถึงกว่า 5 แสนราย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคการค้าและบริการ...
ในวันที่กระแสของ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) กำลังเฟื่องฟูรุ่งโรจน์ เมืองที่มีความพร้อมอย่างกรุงเทพ จึงถูกผลักดันให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ (Creative City) ของประเทศ ผลพลอยได้สำคัญที่จะตกถึงเอสเอ็มอีเมืองกรุงทั่วหัวระแหง คือนโยบายที่เน้นให้ผู้ประกอบการสร้างสรรค์ผลงานด้วยการออกแบบควบคู่กับการเอาใจใส่ต่อสิ่งแวดล้อม หัวใจสำคัญที่จะทำให้เอสเอ็มอีเติบโตได้อย่างเข้มแข็ง ส่งผลถึงเศรษฐกิจชาติที่มีความยั่งยืนต่อไปในอนาคต
"ภักดิ์ ทองส้ม" รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) หน่วยงานที่ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำการศึกษา “อัตลักษณ์” ของเอสเอ็มอีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร บอกว่า เอสเอ็มอีในแต่ละพื้นที่กรุงเทพ มีความหลากหลายแตกต่างกันทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยความหลากหลายนี้สามารถนำมาเชื่อมโยงและร้อยเรียงให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจที่มีความยั่งยืนได้
“เช่นพื้นที่เยาวราช สำเพ็ง ซึ่งเต็มไปด้วยแหล่งธุรกิจการค้ามากมาย สิ่งที่เชื่อมโยงและสร้างเสน่ห์ที่สามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้พื้นที่นี้ คือวัฒนธรรม และสังคมของชาวไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ที่เชื่อมโยงความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถเฉพาะตัวของผู้ประกอบการ สินทรัพย์และวัฒนธรรมของท้องถิ่นเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมขึ้น”
แล้วเอสเอ็มอีแบบไหนบ้าง ที่จะอยู่ในข่ายของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ “อภิรักษ์ โกษะโยธิน” ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร บอกว่า ถ้ามองกันตามทิศทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของรัฐบาล ทุกกลุ่มล้วนตรงกับเอสเอ็มอีทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น การนำเอามรดกทางวัฒนธรรมที่มีความเป็นเอกลักษณ์ เป็นภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ มาต่อยอดเป็นสินค้าหรือบริการ การทำงานเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม เทคโนโลยีทางด้านดิจิทัลและที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบทั้งหมด ซึ่งล้วนพบได้มากมายในพื้นที่กรุงเทพ
"กรุงเทพเป็นเมืองเก่า เมืองประวัติศาสตร์ของไทยมากว่า 220 ปี มีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์จำนวนมาก ชุมชนมีรากฐานทางวัฒนธรรม ผลิตภัณฑ์อย่างโอท็อป ผลิตภัณฑ์ที่สร้างขึ้นมาจากภูมิปัญญาไทยภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งงานช่าง งานฝีมือ อาหารไทย เหล่านี้สามารถต่อยอดได้หลากหลายสำหรับเอสเอ็มอี
เพียงแต่การทำเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เราต้องต่อยอด นั่นหมายความว่าถ้าจะแค่ผลิตและส่งออกเสื้อโหลเหมือนเดิมมันไม่ได้อีกแล้ว แต่ต้องต่อยอดด้วยการออกแบบดีไซน์ เพื่อจะเพิ่มราคาสินค้า และสร้างความมีเอกลักษณ์"
อย่างไรก็ตาม การจะให้เอสเอ็มอีทั่วกรุงเทพลุกขึ้นมาทำเรื่องดีไซน์ จุดไฟความคิดสร้างสรรค์ มันไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะคงไม่มีใครเก่งกาจเรื่องงานครีเอทีฟไปเสียทั้งหมด
แต่อยู่ที่ว่าใครเก่งเรื่องไหน ก็แสดงบทบาทของตัวเองอย่างสุดฝีมือก็สามารถเชื่อมโยงต่อยอดกันได้ในห่วงการสร้างสรรค์
“อภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล” ผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) มองว่า เศรษฐกิจสร้างสรรค์ คือธุรกิจที่ใช้ “แก่นของความคิดสร้างสรรค์” เป็นต้นทุนสำคัญในการผลิตสินค้าหรือบริการ ทำให้ไม่จำกัดเพียงธุรกิจขนาดยักษ์เท่านั้น แต่คนตัวเล็กอย่างเอสเอ็มอีก็ร่วมสร้าง เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้เกิดขึ้นได้
“เมื่อก่อนเราจะเห็นว่า มีไอศกรีมอยู่แค่ไม่กี่เจ้า แหล่งที่มาของไอศกรีมก็มาจากไม่กี่แหล่ง แต่ในวันนี้เรามีไอศกรีมที่มีหน้าตาแตกต่างกันไปเยอะมาก ซึ่งแต่ละร้านล้วนพยายามเสนอสูตรของตัวเอง เสนอการทำหน้าตาให้แตกต่างเป็นเอกลักษณ์ ธุรกิจสำคัญของเขาจึงไม่ได้ขายไอศกรีม แต่กำลังขาย “วิธีคิด” ที่จะทำให้คนสนุกกับการกินของหนึ่งก้อนที่เรียกว่าไอศกรีม”
นั่นคือตัวอย่างของความคิดสร้างสรรค์ “อภิสิทธิ์” บอกว่าไทยมีข้อได้เปรียบที่พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์เหมือนในหลายๆ ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นความมี “ตัวตน” มีเรื่องราว มีประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม มีภาษา มีทุกอย่างพร้อม สามารถหยิบมาเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์ ที่จะทำอะไรต่อไปได้ และการเป็นสังคมเปิด คือยอมรับความคิดที่แตกต่าง รวมถึงการมีกำลังพล คนมีทักษะ มีแรงงานช่างฝีมือชาวบ้านและช่างในระบบอุตสาหกรรมพร้อมรบ
“เศรษฐกิจสร้างสรรค์มันเป็นวิธีคิดที่ต้องโตมาจากสังคมของการบ่มเพาะทางความรู้ ไม่ใช่การอยู่ดีๆ นั่งแล้วฝันว่าอันนี้มันสวย มันสร้างสรรค์ แล้วทำออกมา แต่มันต้องเกิดจากความรู้ โตจากความรู้และเติมความคิดสร้างสรรค์ไปบนฐานความรู้นั้น มันถึงจะมีความเป็นไปได้”
อย่างไรในความพร้อมก็ยังมีข้ออ่อนด้อย ผู้บริหาร TCDC บอกเราว่า บ้านเรายังต้องปรับปรุงเรื่องของ เทคโนโลยี เพราะยังขาดนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นของเราเอง และขาดการลงทุนในแง่การต่อยอดทางความรู้
“คนที่ประสบความสำเร็จในสเกลใหญ่ๆ อย่างคนทำธุรกิจในยูทูบ เฟชบุ๊ค ทวิตเตอร์ เว็บไซต์เหล่านี้ ล้วนเริ่มจากแค่ คนสองคน แต่เขาเริ่มต้นจาก “วิธีคิด” อย่างยูทูบ แนวคิดที่จะสร้างสังคมหนึ่ง ซึ่งคนที่มีอะไรอยากโชว์เอาไปแปะไว้ อีกฝั่งหนึ่งอยากดูก็เข้าไปอ่าน สร้างสังคมอย่างนี้ขึ้นมาจนสำเร็จ คนทั้งโลกสนใจ ใช้เวลาเพียง 6 ปี เพิ่มมูลค่าของยูทูบ อยู่ที่กว่า 8 หมื่นล้าน สิ่งเหล่านี้ใช้วิธีคิดสร้างสรรค์เป็นแก่น เมื่อไรขาดความคิดสร้างสรรค์ธุรกิจก็เก็บกระเป๋า”
ด้าน “ดร.การดี เลียวไพโรจน์” อาจารย์คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บอกว่า ผู้ประกอบการในยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ต้องไม่คิดอะไรแบบเดิมๆ เมื่อลูกค้ายุคนี้ไม่ได้ต้องการสินค้าเหมือนๆ กัน แต่ต้องการความแตกต่าง ต้องการสุนทรียะในการใช้สินค้ามากขึ้น การจะต้องต้นทำธุรกิจออกมา จึงไม่ใช่เริ่มจากวิเคราะห์คู่แข่ง ดูว่าใครทำอะไรแล้วไปทำให้ดีกว่าเขา แต่ต้องเป็นการมองมุมกลับว่า “ความต้องการของลูกค้า” ที่แท้จริงคืออะไร แล้วผลิตสินค้านั้นออกมา
เมื่อได้ความคิดสร้างสรรค์ก็ต้องเอาความคิดนั้นไปขายให้ได้ด้วย ตามห่วงโซ่ความคิดสร้างสรรค์ที่ต้อง “คิดได้ ผลิตได้ และขายได้”
“การคิดได้ คนไทยมีความคิดสร้างสรรค์เป็นพรสวรรค์กันอยู่แล้ว คิดได้ สร้างสรรค์ได้ เราได้คะแนนสูงมาก แต่การรู้จักตลาด เรากลับสอบตก เพราะมักคิดว่าของเรานั้นทำดีแล้ว ทำอะไรออกมาก็จับยัดใส่มือลูกค้า ซึ่งเป็นวิธีคิดที่ผิด ก่อนทำอะไรออกมา เราต้องเข้าใจลูกค้าก่อน ว่าเขาต้องการอะไร จึงผลิต จึงลงทุน ด้านการผลิต และบริการ เรามีทรัพยากร แต่ต้องพัฒนาเรื่องมาตรฐาน การขายนอกจากความคิดสร้างสรรค์แล้ว เรื่องความปลอดภัย แหล่งที่มากระบวนการผลิตมันสำคัญ ต่างประเทศเขาดูเรื่องนี้เราจะละเลยไม่ได้ ทุกอย่างมันจึงต้องเป็นระบบ ส่วนการขายได้ก็ต้องผลักดันสู่ตลาดอย่างถูกที่ถูกจุด"
อาจารย์นักคิดบอกว่า การจะอยู่ในระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เอสเอ็มอีต้องสร้างความอยู่รอด ความเด่นชัด สร้างระบบที่ดี มีกระบวนการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และต้องมีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนมหาศาล แต่เลือกใช้ที่เหมาะและตรงตามสมัยนิยม สำหรับสร้างระบบการจัดการภายในและสื่อสารกับลูกค้า เป็นสำคัญ
หากกลไกทั้งหมดสมบูรณ์เราคงเห็นกรุงเทพเป็นเมืองสร้างสรรค์อีกแห่งบนแผนที่โลก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น