โดย นสพ.กรุงเทพธุรกิจ เมื่อ 7 ม.ค.2553 คอลัมน์ รวยด้วยไอเดียสร้างสรรค์
จีราวัฒน์ คงแก้ว
“ความคิดสร้างสรรค์” กุญแจดอกสำคัญที่จะทำให้เอสเอ็มอีไทยได้เปรียบในทุกสนามแข่ง เก๋+เท่ และต้อง "ขายได้"
“สุเทพ” เริ่มจับงานดอกไม้ประดิษฐ์ และทำขนมจิ๋วจากดินญี่ปุ่น วันหนึ่งมีโอกาสได้ไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่นกับกรมส่งเสริมการส่งออก เลยสะดุดกับไอเดียการทำโมเดลอาหาร ที่ได้รับความนิยมไปทั่วเมืองซากุระ
“โมเดลอาหารที่ญี่ปุ่นเขามีกันเยอะมาก มันกลายเป็นส่วนประกอบในร้านอาหารไปแล้ว อย่าง ซื้อโต๊ะ ซื้อเก้าอี้ ก็มีโมเดลอาหารด้วย บ้านเรามีเมนูที่เป็นกระดาษ แต่ที่ญี่ปุ่นเขาเรียกวินโดว์เมนู ทุกคนรู้จักอาหารญี่ปุ่นเพราะวินโดว์สเมนูนี่แหละ จึงคิดว่าน่าจะเอามาทำที่เมืองไทยบ้าง”
วันนี้เราอาจเห็นโมเดลอาหารวางหน้าร้านต่างๆ จนคุ้นชิน แต่กับเมื่อหลายปีก่อนเป็นเรื่องใหม่สำหรับบ้านเรา พวกเขาเริ่มจากฝึกทำด้วยตัวเอง ลองผิดลองถูก อาศัยครูพักลักจำ อยากรู้ก็ถามเอา ดูจากเมนูจริงๆ แล้วพยายามทำสีทำหน้าตาให้เหมือน ศึกษาวัสดุที่นำมาใช้ไม่ว่าจะเป็น ดินปั้น เรซิ่น ยาง ซิลิโคน โฟม ฯลฯ รวมถึงวัสดุที่สามารถเอามาประยุกต์ใช้ได้ ขณะที่ทักษะการทำก็พัฒนามาทั้งปั้นทั้งหล่อแบบเพื่อให้ได้งานที่ใกล้เคียงของจริงที่สุด
งานแรกพวกเขาส่งโมเดลอาหารไทย เมนูต้มยำกุ้ง ผัดไทย ไปขายร้านอาหารไทยที่ญี่ปุ่น ขายกันจานละเกือบ 2 พันบาท แต่คนก็ซื้อเพราะฝีมือดี จากนั้นลองมาวางขายที่หน้าร้านของตัวเองที่จตุจักร จนกลายเป็นธุรกิจเต็มรูปแบบกับการเปิดหน้าร้านออนไลน์ ส่งออกอเมริกา ยุโรป เอเชีย รวมทั้งลูกค้าส่วนหนึ่งลงทุนแพ็คเมนูจริงบินมาที่เมืองไทย เพื่อให้เขาแกะแบบให้โดยเฉพาะ
อีกความน่าสนใจของคนขยันใช้ไอเดีย คือพัฒนาฝีมือของตัวเองไปเรื่อยๆ จากแค่โมเดลอาหารวางขายในร้านอาหาร พัฒนามาเป็นโมเดลขนาดใหญ่ขึ้นสำหรับลูกค้าองค์กร เช่น พวกถังสีขนาดใหญ่ของธุรกิจก่อสร้าง เฟรนช์ฟรายด์ยักษ์ เค้กยักษ์หน้าห้างชื่อดัง หุ่นรางวัล และอื่นๆ อีกมากมาย โดยสนนราคาขายอยู่ที่ 800-1,000 บาท ขึ้นกับประเภทอาหาร สำหรับเมนูที่แพงที่สุดในระดับหลักพันบาทขึ้นไปเป็นชุดอาหารญี่ปุ่น
เขาบอกว่า ร้านอาหารส่วนใหญ่ลงทุนซื้อ เพราะมองว่าเป็นการลงทุนระยะยาว ซึ่งถูกกว่าการใช้เมนูจริงมาวางหน้าร้านที่ต้องเปลี่ยนวันต่อวัน
ทั้งหมดที่เห็นใช้เงินลงทุนไปประมาณหลักหมื่นบาท ส่วนที่เหลือคือต้นทุนเรื่อง “ไอเดีย” ล้วนๆ ที่ดึงมาใช้ได้ไม่มีวันหมดอายุ
ใครที่คิดจะขายขนมหวาน เอาแค่เล็กๆ ประมาณคีย์ออส ทำเป็นงานพิเศษได้ รายได้งาม ลองดูธุรกิจสร้างสรรค์ฝีมือหนุ่มนักเรียนนอก “วงศ์สถิตย์ อนันตกฤตยากร” เจ้าของบริษัท เฮฮา กรุ๊ป จำกัด กับแฟรนไชส์อารมณ์ดี “เฉาก๊วยเฮฮา”
ถ้าขายเฉาก๊วยธรรมดา ก็คงไม่ต่างจากร้านเฉาก๊วยที่มีอยู่เกลื่อนเมือง ถ้วยละ 10-15 บาท จะตั้งราคาแพงกว่าก็คงไม่มีคนซื้อ นั่นคือเหตุผลที่เฉาก๊วยก็ต้องมีแบรนด์กับเขาด้วย
“ผมเป็นคนสนใจเรื่องแบรนด์อยู่แล้ว ถ้าเราทำแบบธรรมดา ไปวางขายกับเฉาก๊วยทั่วๆ ไปเขาขายถูกกว่าลูกค้าก็ต้องซื้อถูกกว่าโดยธรรมชาติ ถ้ามันไม่มีความแตกต่าง แต่หากมีแบรนด์มีความแตกต่างก็ยังให้ความรู้สึกว่ามันไม่เหมือนเฉาก๊วยธรรมดา”
การทำของให้ต่างเริ่มจาก “ชื่อ” ต้องตั้งให้จำง่าย เข้าหู ไม่ดูยุ่งยาก ฟังแล้วมีความเป็นมิตรสุดๆ จากนั้น ขายของกิน ที่สำคัญก็คือ “รสชาติ” ต้องเยี่ยม ถ้าอย่างอื่นดีหมดแต่รสชาติแย่ ไม่แตกต่างจากถ้วยละ 10 บาท คนก็คงแห่ไปกินแบบนั้นกันหมด สุดท้ายก็คงอยู่ไม่ได้
ต่อมาคือ “รถเข็น” เขาเลือกออกแบบให้โดดเด่นน่ารักน่าชัง ต่างจากรถเข็นสังกะสีทั่วๆ ไป ทำให้ร้านดูเด่น ถูกใจขาโจ๋ ที่สำคัญคือ “แพ็คเกจจิ้ง” เลือกใช้ถ้วยกระดาษ แทนถ้วยโฟม พิมพ์แบรนด์เก๋ๆ แถมยังลดโลกร้อนอินเทรนด์เข้ากระแส
ทั้งหมดที่เห็น ลงทุนเพียงหนึ่งหมื่นบาท ซึ่งเขาเลือกเปิดตัวย่านสีลม ด้วยค่าเช่าแค่ 200 บาทต่อวัน ในเวลาเพียงไม่กี่เดือนขยายเพิ่มมาเป็น สยาม ลาดพร้าว และชิดลม เพราะไม่ต้องลงทุนมาก พอได้กำไรก็เอาไปทำเพิ่ม ไม่มีหน้าร้านไม่ต้องผูกมัดกับสัญญาค่าเช่า ทำเลไม่ดีก็ย้ายทำเลได้
ต่อมาก็เริ่มขายแฟรนไชส์ สตาร์ทเมื่อต้นปี 2552 สิ้นปีนี้เขาบอกว่าคาดว่าจะอยู่ที่ 30 สาขา เพราะเป็นธุรกิจที่ลงทุนไม่สูงมาก เพียง 12,000 และ 22,000 บาท ทั้งแบบรถเข็นและคีย์ออส แต่จากนี้คงต้องหยุดขยายเพราะธุรกิจดูโตเร็วเกินไปควบคุมลำบาก
ต่อมาก็เริ่มขายแฟรนไชส์ สตาร์ทเมื่อต้นปี 2552 สิ้นปีนี้เขาบอกว่าคาดว่าจะอยู่ที่ 30 สาขา เพราะเป็นธุรกิจที่ลงทุนไม่สูงมาก เพียง 12,000 และ 22,000 บาท ทั้งแบบรถเข็นและคีย์ออส แต่จากนี้คงต้องหยุดขยายเพราะธุรกิจดูโตเร็วเกินไปควบคุมลำบาก
มุมมองการทำธุรกิจในทุกวันนี้ คนหนุ่มไฟแรงบอกเราว่า
“ต้องทำอะไรที่มันต่างจากคนอื่น ไม่จำเป็นต้องไปครีเอทใหม่ เพียงแต่อาจเป็นอะไรที่มีอยู่แล้ว อย่างเฉาก๊วย ไอติม หรือว่าน้ำปั่น เพียงแต่ลองใส่อะไรเข้าไปที่ทำให้มันรู้สึกต่าง ซึ่งมันมีหลายวิธีมาก อย่างเฉาก๊วยของเรามีเพิ่มแปะก๊วย พุทราจีน วุ้นมะพร้าว เข้าไปด้วย เราตั้งใจให้เกิดความต่างในความรู้สึก เราอาจไม่ได้อร่อยที่สุด แต่เขาซื้อเราเพราะอาจชอบรถเข็น ชอบถ้วย ชอบทุกอย่างที่เป็นเฉาก๊วยเฮฮา”
ความคิดสร้างสรรค์ของคนช่างคิดยังไม่หยุดนิ่ง จากโรงงานผลิตเฉาก๊วยที่ส่งสินค้าให้กับแฟรนไชซีในแต่ละสาขา เขาพัฒนาต่อยอดมาเป็นเฉาก๊วยแบบซองในน้ำเชื่อม เพื่อส่งขายตามร้านอาหารอีกด้วย เพราะเป็นการขนส่งที่ง่ายกว่า สามารถนำไปฉีกซองใส่ถ้วยให้ลูกค้าได้ทันที ขยายกลุ่มเป้าหมายออกไปได้อีกมากจากความช่างคิด
ความคิดสร้างสรรค์ของคนช่างคิดยังไม่หยุดนิ่ง จากโรงงานผลิตเฉาก๊วยที่ส่งสินค้าให้กับแฟรนไชซีในแต่ละสาขา เขาพัฒนาต่อยอดมาเป็นเฉาก๊วยแบบซองในน้ำเชื่อม เพื่อส่งขายตามร้านอาหารอีกด้วย เพราะเป็นการขนส่งที่ง่ายกว่า สามารถนำไปฉีกซองใส่ถ้วยให้ลูกค้าได้ทันที ขยายกลุ่มเป้าหมายออกไปได้อีกมากจากความช่างคิด
ทั้งหมดนี้คือความคิดสร้างสรรค์ของเอสเอ็มอีไทย ที่ถ้านำมาใช้ได้ถูกที่ถูกทางก็สร้างโอกาสธุรกิจไม่รู้จบ ในมุมมองของครีเอทีฟตัวจริงอย่าง "ไผ่-ภาคย์ วรรณศิริ" และ "ฟิล์ม-กฤษฏิ์ สารโกศล" ครีเอทีฟรุ่นใหม่ไฟแรง จากบริษัทโฆษณา ดราฟเอฟซีบี ผู้ชนะในเวที “Young Cannes 2009” งาน B.A.D Awards 2009 บอกเราว่า สินค้า ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ อย่างข้าวกล้อง ถ้าไม่มีใครคิดข้าวกล้องหลายๆ แบบ เราก็คงได้กินแต่ข้าวกล้องธรรมดา แต่เมื่อไรที่บวกความคิด บวกความสร้างสรรค์ สามารถแตกเป็นโปรดักท์ และเกิดเป็นอุตสาหกรรมขึ้นมาได้
“ความสร้างสรรค์ ไม่ใช่แค่แปลก เราจะเห็นเด็กในหลายโรงเรียน ผลิตเครื่องตัดกล้วยได้ ทำเครื่องตำส้มตำได้ ถามว่าแปลกไหม แปลก แต่ช่วยอะไรล่ะ หรืออย่างสินค้าโอท็อปบางอย่าง แค่เอามาใส่กล่องพลาสติก ผูกโบ เขาก็ว่ามันเก๋ มันสร้างสรรค์แล้ว ซึ่งจริงๆ มันไม่ใช่ การสร้างสรรค์ มันต้องสร้างสรรค์จริงๆ ดูอย่างญี่ปุ่น คนของเขามีความคิดสร้างสรรค์ เพราะฉะนั้นเมื่อมาบวกกับอะไรอีกนิดหน่อย ธุรกิจของเขาเลยไปได้ไกล ซึ่งหากบ้านเราสามารถกระจายความครีเอทีฟลงไปได้ทุกหย่อมหญ้าจริงๆ ผมเชื่อว่ามันจะรุ่งได้ มันจะมีความเก๋ และผลักดันเศรษฐกิจไปได้จริงๆ ไม่ใช่แค่การจับสินค้ามาผูกโบ”
อีกหนึ่งไอเดียสร้างสรรค์ ที่ไม่ใช่ Copy แต่ใช้หัว Creative
อีกหนึ่งไอเดียสร้างสรรค์ ที่ไม่ใช่ Copy แต่ใช้หัว Creative
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น