เฟอร์นิเจอร์ไม้เก่า นอกจากได้ชื่อเป็นของสะสมที่มีเอกลักษณ์ นานวันยังเพิ่มทั้งคุณค่าและมูลค่าเก้าอี้ใหม่ 1 ตัว ดีไซน์เข้ากับยุคสมัย วัสดุทำจากไม้เนื้อแข็งทั่วไป
อย่างมากราคาตัวละไม่เกิน 1,500-2,000 บาท เทียบกับเก้าอี้ ที่วงการนักเล่นเฟอร์นิเจอร์ไม้เก่า ตั้งฉายาให้ว่า “ทรงแขนอ่อนขาสกี” วัสดุทำจากไม้สัก สภาพเก่าคร่ำครึ ใช้งานมาไม่ต่ำกว่า 40 ปี สีเดิมถลอกปอกเปิกราคาเริ่มต้น ตัวละไม่ต่ำกว่า 3,000-3,500 บาท หรือจะเป็นเก้าอี้รูปทรงคล้ายคลึงกับแขนอ่อนขาสกี ต่างแค่ตรงที่ท้าวแขนต่อจากพนักพิง มีความโค้งมากกว่า หรือที่คนในวงการ เรียกว่ารุ่น “ทรงรถถัง” ราคาตามแหล่งขายเฟอร์นิเจอร์ไม้เก่า ต่ำสุดตัวละ 3,500-4,000 บ
หลายคนอาจสงสัย ของใหม่สภาพดี สีสันสดใส มีให้เลือกถมไป แถมราคาถูกกว่ากันครึ่งต่อครึ่ง ไฉนมีคนอุตริไปซื้อเฟอร์นิเจอร์คร่ำครึมาใช้งาน
ไพโรจน์ ร้อยแก้ว
เจ้าของ
ร้าน “ฟราลานทีค”
ผู้มีประสบการณ์ขายเฟอร์นิเจอร์ไม้เก่ามานานกว่า 10 ปี ที่ถนนกำแพงเพชร 2
บอกว่า ลางเนื้อ ชอบลางยา เฟอร์นิเจอร์ไม้เก่า ส่วนใหญ่ทำมาจากไม้สักทอง ประดู่ หรือชิงชัน ล้วนเป็นไม้ชั้นดี ราคาแพง แทบจะหาไม่ได้ในยุคนี้ บ้านไหนมีของเหล่านี้ บ่งบอกว่า ไม่ผู้ดีเก่า ก็คนมีฐานะอีกอย่าง เทคนิคการขึ้นโครงเข้าลิ้น “ด้วยวิธีเข้าลิ่ม เข้าเดือย” โดยไม่ใช้ตะปู นอกจากทำให้เฟอร์นิเจอร์ไม้เก่า มีความแข็งแรงทนทาน ยังเป็นเสน่ห์คลาสสิก ที่เชิงช่างสมัยนี้เทียบไม่ติด
“อีกกลุ่ม ลูกหลาน เบื่อเฟอร์นิเจอร์รุ่นเก่า ตั้งแต่ลืมตาดูโลก จนเอียน หรือไม่ก็เห็นว่าเฟอร์นิเจอร์ชำรุดทรุดโทรม หาที่ซ่อมไม่ได้ถ้าขายได้ราคาน่าพอใจ...ก็เอา”
อาชีพค้าเฟอร์นิเจอร์ไม้เก่า นอกจากออกเสาะหาสินค้าเอง ยังมีแมวมอง ทำหน้าที่คล้ายสายข่าว คอยสืบเสาะรายงาน บ้านไหนกำลังจะย้าย หรือโละขายเฟอร์นิเจอร์ ตัวอย่างล่า...สายข่าวกระซิบว่า สิ้นปีนี้แถวบางรัก กทม. จะมีการเวนคืนที่ดิน ทำให้มีบ้านเรือนเก่าหลายหลังต้องย้ายออกจากพื้นที่ พ่อค้าเฟอร์นิเจอร์เก่า จะพากันสวมวิญญาณนักตื๊อ รีบแห่ไปรุมจีบกันไว้ก่อนแต่เนิ่นๆ เฟอร์นิเจอร์ รถยนต์ หรือของเก่าบางชิ้น ไพโรจน์ใช้เวลาตามตื๊อถึง 5 ปี เทียวไปเป็น 10 รอบ หาของฝากติดไม้ติดมือไปสานไมตรีทุกครั้ง แต่ก็คุ้มค่า ไม่ถึง 10 ชั่วโมงต่อมา ก็ขายต่อด้วยราคาที่แพงกว่าเกือบ 3 เท่า
“เจ้าของส่วนใหญ่มีเงิน ถึงไม่ใช้ แต่ไม่ยอมขาย ของบางชิ้นมีคุณค่าทางใจ” ไพโรจน์ฟันธง เสน่ห์หรือมนต์ขลังของเฟอร์นิเจอร์ไม้เก่า นอกจาก เรื่องราวความเป็นมาในอดีต ยังอยู่ที่ การคงสภาพเดิมๆ เช่น ยิ่งถลอกปอกเปิก ยิ่งขายได้ราคาดี เพราะต่อให้สุดยอดช่างมีฝีมือแค่ไหนก็ทำขึ้นมาใหม่เลียนแบบผิวไม้เดิมที่ผุกร่อนไปตามธรรมชาติและกาลเวลาไม่ได้ ปริมาณของเก่ายังไม่หมดไปง่ายๆ แต่ก็ไม่มีเพิ่ม มีแต่จะลดลง ส่วนหนึ่งซื้อไปแล้วเบื่อ ก็นำมาขายคืนเปลี่ยนมือ สมบัติผลัดกันชม ตลาดยังมีของให้ซื้อขายได้เรื่อยๆ ไพโรจน์ทิ้งท้าย...จบบทสนทนา
“ค้าเฟอร์นิเจอร์เก่ามาสิบกว่าปี เรื่องผี เรื่องเฮี้ยนที่เขาร่ำลือไม่เคยกลัว กลัวอยู่ 2 อย่าง คือ ซื้อแพง จนจับไม่ลง กับเจ้าของไม่ยอมขาย”.
“การค้าของเก่า ไม่เหมือนสินค้าอื่น ถ้ามีของดีอยู่ในมือ จะช้าหรือ เร็ว ยังไงก็ต้องขายได้ คนที่จะเข้ามาอยู่วงการนี้ ต้องมีทั้งความรู้และ ประสบการณ์” ไพโรจน์เริ่มเข้าสู่วงการตั้งแต่สมัยยังเรียนหนังสือ ด้วยเงินทุนเพียง 5,000 บาท โดยเริ่มจากการขายของเก่าแบกับดิน ที่ตลาดมืดคลองถม
ปี 2538 เขาเริ่มมออกตระเวนซื้อของเก่าตามร้านโชห่วยที่เลิกกิจการ ไล่เลาะไปตามตลาดเก่าริมน้ำ หรือเส้นทางเดินเรือ ตั้งแต่ปทุมธานี อยุธยา อ่างทอง สุพรรณบุรี จนถึงชัยนาท “ผมกว้านซื้อมาครบแล้วทุกตลาด” ช่วงนั้นไพโรจน์ขายของจำพวก
- ขวดแป้งน้ำรุ่นเก่า
- ขวดน้ำอัดลม
- แก้วโอเลี้ยงก้นจีบ
- ตลับยาสีฟัน
- คันฉ่อง
- โอ่ง
- ไห
- ตะไล
- ชาม
อยู่ที่ตลาดมืดคลองถม ทุกคืนวันเสาร์
คืนเดียวมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ 7,000-10,000 บาท ลูกค้าของไพโรจน์ มีทั้ง
- นักสะสมทั่วไป
- เจ้าของพิพิธภัณฑ์ส่วนตัว
- ดารา
- นักร้อง
- ศิลปินดัง
- คนรุ่นเก่าที่โหยหาสัญลักษณ์ในอดีต
- พร็อพแมน (PROP MAN) หรือคนที่จัดหาอุปกรณ์ไปประกอบฉากในภาพยนตร์และแม้แต่
- พ่อค้าของเก่าด้วยกัน ที่หาซื้อสินค้าแปลกตาเอาไปขายต่อ
จากจุดนี้ ไพโรจน์เล่าว่า ทำให้ในเวลาต่อมาเขาได้อาชีพใหม่ ทั้งบริษัทแกรมมี่ฯ และอาร์เอสโปรโมชั่น ทาบทามให้ทำหน้าที่ “พร็อพแมน” “ผมทำอาชีพนี้อยู่ 4 ปี ทั้งแบบมีสังกัด และแยกตัวออกมาทำอิสระ ช่วงนั้นเหนื่อยมาก ต้องออกหาทั้งตู้เสื้อผ้า คันฉ่อง โต๊ะ เก้าอี้ เตียงนอน แม้แต่รถยนต์โบราณมาเข้าฉาก บางเมืองไทยหาไม่ได้ หรือเจ้าของไม่ยอมขาย ต้องไปหาถึงในพม่าและลาว”
ครั้งหนึ่งจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ประกอบฉากหนัง ปัมน้ำมันในยุค ค.ศ.1950 และป้ายโฆษณารุ่นเก่าที่เป็นภาษาอังกฤษ แทบพลิกแผ่นดินหาในเมืองไทย ก็ยังหาไม่ได้ สุดท้ายต้องเข้าไปซื้อถึงในลาว กว่าจะขนข้ามน้ำโขงมาได้ สุดแสนทุลักทุเลอีกครั้ง ได้ใบสั่งให้หาตู้ไม้เก่ายุควิคตอเรียนหรือโคโลเนียล รูปทรงโค้งเว้า มีลวดลายแกะสลัก เฟอร์นิเจอร์ยอดนิยม ยุคที่อังกฤษออกล่าอาณานิคม
ไพโรจน์ต้องใช้วิชาประสานแปดทิศ เข้าไปหาถึงในพม่า จึงได้มาเข้าฉากภารกิจของพร็อพแมน ไม่เพียงซอกแซกหาของมาเข้าฉากหนัง ฉากละคร ของแต่ละชิ้นที่เป็นเป้าหมาย ยังต้องศึกษาหาข้อมูลประกอบจากกรมศิลปากร เช่น สมัยรัชกาลที่ 6 ตามบ้านเรือน ใช้เฟอร์นิเจอร์อย่างไร หรือตามท้องถนนยุคนั้น มีรถยนต์รุ่นไหนใช้บ้าง จะไปหามามั่วๆไม่ได้ ถ้าหาไม่ได้จริงๆ อาร์ตไดเร็กเตอร์ หรือคนออกแบบฉาก จึงจะสั่งให้รีโนเวท รีโปรดักต์ หรือทำเลียนแบบขึ้นมาใหม่ไพโรจน์บอกว่า
การทำของสักชิ้นเลียนแบบของเก่า ให้ได้ทั้งกลิ่นอาย สีสัน และอารมณ์ เหมือนของเก่ายุคอยุธยา หรือสมัย ร.6-ร.8 ไม่ใช่เรื่องง่ายจากจุดนี้เอง ทำให้เขากลายเป็นทั้งแมวมอง นักเจรจา นักเลียนแบบ และจอมตื๊อ (จำเป็น) ระดับมือโปร
“เวลาไปหาเฟอร์นิเจอร์เก่ามาเข้าฉาก บางทีออกไปเป็นอาทิตย์ ได้ของติดมือกลับมาชิ้นเดียว บางทีไม่ได้อะไรเลยที่ยากกว่านั้น เราเป็นคนแปลกหน้าต่างถิ่น จู่ๆจะลุยพรวดเข้าไปหาเจ้าของ ก็ไม่ได้ เขาอาจระแวงว่าไอ้นี่มาดูลาดเลา เตรียมจะงัดแงะ ดีไม่ดี อาจถูกปืนลูกซอง
ดังนั้น ก็ต้องอาศัยเทคนิคในการเข้าหาเป้าหมาย ลูกเล่นเนียนๆที่ไพโรจน์ และผองเพื่อนของเขาใช้เป็นประจำ และมักได้ผลเวลาออกล่าหาของมาขายและเข้าฉาก ก็คือซื้อน้ำกิน ตะล่อมถาม สอดส่ายสายตาสำรวจ “วิธีนี้ถือว่าเป็นธรรมชาติที่สุด เจ้าถิ่นจะยอมคุยด้วยกับคนแปลกหน้า บางวัน ผมต้องซื้อน้ำขวดกินแล้วกินอีก ต่อเนื่องกัน 4-5 ขวด จนฉี่แทบราด” เขาสารภาพ “ดูดน้ำไป ตะล่อมถามไป ชิ้นนั้นชิ้นนี้ในร้าน จะขายมั้ยครับ หรือแถวนี้มีใครขายเฟอร์นิเจอร์เก่าบ้างมั้ยครับ ขอให้ซื้อนำร่องได้สำเร็จสักชิ้น สักเดี๋ยวของชิ้นอื่นก็ตามมา”
ไพโรจน์บอกว่า แหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพดี ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ ชั้นใน เช่น
- แถวทรงวาด
- เยาวราช
รองลงมา
- ภาคกลางแถบ ปทุมธานี อยุธยา อ่างทอง ชัยนาท สุพรรณบุรี
- ภาคเหนือก็พอมี แต่รูปทรงมักออกไปทางศิลปะพื้นบ้าน
เหตุผลที่เฟอร์นิเจอร์ไม้เก่าคุณภาพดี มักกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ ไพโรจน์ บอกว่า เพราะกรุงเทพฯเป็นเมืองหลวง เมืองการค้า มีความเจริญทางวัตถุกว่าที่อื่น เฟอร์นิเจอร์รุ่นเก่าจึงมักมีสไตล์ที่ฟู่ฟ่า หรูหรา หรือใช้วัสดุอย่างฟุ่มเฟือย เพราะรับวัฒนธรรมมาจากต่างชาติโดยตรง
ร้าน “ฟราลานทีค”
ผู้มีประสบการณ์ขายเฟอร์นิเจอร์ไม้เก่ามานานกว่า 10 ปี ที่ถนนกำแพงเพชร 2
บอกว่า ลางเนื้อ ชอบลางยา เฟอร์นิเจอร์ไม้เก่า ส่วนใหญ่ทำมาจากไม้สักทอง ประดู่ หรือชิงชัน ล้วนเป็นไม้ชั้นดี ราคาแพง แทบจะหาไม่ได้ในยุคนี้ บ้านไหนมีของเหล่านี้ บ่งบอกว่า ไม่ผู้ดีเก่า ก็คนมีฐานะอีกอย่าง เทคนิคการขึ้นโครงเข้าลิ้น “ด้วยวิธีเข้าลิ่ม เข้าเดือย” โดยไม่ใช้ตะปู นอกจากทำให้เฟอร์นิเจอร์ไม้เก่า มีความแข็งแรงทนทาน ยังเป็นเสน่ห์คลาสสิก ที่เชิงช่างสมัยนี้เทียบไม่ติด
“อีกกลุ่ม ลูกหลาน เบื่อเฟอร์นิเจอร์รุ่นเก่า ตั้งแต่ลืมตาดูโลก จนเอียน หรือไม่ก็เห็นว่าเฟอร์นิเจอร์ชำรุดทรุดโทรม หาที่ซ่อมไม่ได้ถ้าขายได้ราคาน่าพอใจ...ก็เอา”
อาชีพค้าเฟอร์นิเจอร์ไม้เก่า นอกจากออกเสาะหาสินค้าเอง ยังมีแมวมอง ทำหน้าที่คล้ายสายข่าว คอยสืบเสาะรายงาน บ้านไหนกำลังจะย้าย หรือโละขายเฟอร์นิเจอร์ ตัวอย่างล่า...สายข่าวกระซิบว่า สิ้นปีนี้แถวบางรัก กทม. จะมีการเวนคืนที่ดิน ทำให้มีบ้านเรือนเก่าหลายหลังต้องย้ายออกจากพื้นที่ พ่อค้าเฟอร์นิเจอร์เก่า จะพากันสวมวิญญาณนักตื๊อ รีบแห่ไปรุมจีบกันไว้ก่อนแต่เนิ่นๆ เฟอร์นิเจอร์ รถยนต์ หรือของเก่าบางชิ้น ไพโรจน์ใช้เวลาตามตื๊อถึง 5 ปี เทียวไปเป็น 10 รอบ หาของฝากติดไม้ติดมือไปสานไมตรีทุกครั้ง แต่ก็คุ้มค่า ไม่ถึง 10 ชั่วโมงต่อมา ก็ขายต่อด้วยราคาที่แพงกว่าเกือบ 3 เท่า
“เจ้าของส่วนใหญ่มีเงิน ถึงไม่ใช้ แต่ไม่ยอมขาย ของบางชิ้นมีคุณค่าทางใจ” ไพโรจน์ฟันธง เสน่ห์หรือมนต์ขลังของเฟอร์นิเจอร์ไม้เก่า นอกจาก เรื่องราวความเป็นมาในอดีต ยังอยู่ที่ การคงสภาพเดิมๆ เช่น ยิ่งถลอกปอกเปิก ยิ่งขายได้ราคาดี เพราะต่อให้สุดยอดช่างมีฝีมือแค่ไหนก็ทำขึ้นมาใหม่เลียนแบบผิวไม้เดิมที่ผุกร่อนไปตามธรรมชาติและกาลเวลาไม่ได้ ปริมาณของเก่ายังไม่หมดไปง่ายๆ แต่ก็ไม่มีเพิ่ม มีแต่จะลดลง ส่วนหนึ่งซื้อไปแล้วเบื่อ ก็นำมาขายคืนเปลี่ยนมือ สมบัติผลัดกันชม ตลาดยังมีของให้ซื้อขายได้เรื่อยๆ ไพโรจน์ทิ้งท้าย...จบบทสนทนา
“ค้าเฟอร์นิเจอร์เก่ามาสิบกว่าปี เรื่องผี เรื่องเฮี้ยนที่เขาร่ำลือไม่เคยกลัว กลัวอยู่ 2 อย่าง คือ ซื้อแพง จนจับไม่ลง กับเจ้าของไม่ยอมขาย”.
“การค้าของเก่า ไม่เหมือนสินค้าอื่น ถ้ามีของดีอยู่ในมือ จะช้าหรือ เร็ว ยังไงก็ต้องขายได้ คนที่จะเข้ามาอยู่วงการนี้ ต้องมีทั้งความรู้และ ประสบการณ์” ไพโรจน์เริ่มเข้าสู่วงการตั้งแต่สมัยยังเรียนหนังสือ ด้วยเงินทุนเพียง 5,000 บาท โดยเริ่มจากการขายของเก่าแบกับดิน ที่ตลาดมืดคลองถม
ปี 2538 เขาเริ่มมออกตระเวนซื้อของเก่าตามร้านโชห่วยที่เลิกกิจการ ไล่เลาะไปตามตลาดเก่าริมน้ำ หรือเส้นทางเดินเรือ ตั้งแต่ปทุมธานี อยุธยา อ่างทอง สุพรรณบุรี จนถึงชัยนาท “ผมกว้านซื้อมาครบแล้วทุกตลาด” ช่วงนั้นไพโรจน์ขายของจำพวก
- ขวดแป้งน้ำรุ่นเก่า
- ขวดน้ำอัดลม
- แก้วโอเลี้ยงก้นจีบ
- ตลับยาสีฟัน
- คันฉ่อง
- โอ่ง
- ไห
- ตะไล
- ชาม
อยู่ที่ตลาดมืดคลองถม ทุกคืนวันเสาร์
คืนเดียวมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ 7,000-10,000 บาท ลูกค้าของไพโรจน์ มีทั้ง
- นักสะสมทั่วไป
- เจ้าของพิพิธภัณฑ์ส่วนตัว
- ดารา
- นักร้อง
- ศิลปินดัง
- คนรุ่นเก่าที่โหยหาสัญลักษณ์ในอดีต
- พร็อพแมน (PROP MAN) หรือคนที่จัดหาอุปกรณ์ไปประกอบฉากในภาพยนตร์และแม้แต่
- พ่อค้าของเก่าด้วยกัน ที่หาซื้อสินค้าแปลกตาเอาไปขายต่อ
จากจุดนี้ ไพโรจน์เล่าว่า ทำให้ในเวลาต่อมาเขาได้อาชีพใหม่ ทั้งบริษัทแกรมมี่ฯ และอาร์เอสโปรโมชั่น ทาบทามให้ทำหน้าที่ “พร็อพแมน” “ผมทำอาชีพนี้อยู่ 4 ปี ทั้งแบบมีสังกัด และแยกตัวออกมาทำอิสระ ช่วงนั้นเหนื่อยมาก ต้องออกหาทั้งตู้เสื้อผ้า คันฉ่อง โต๊ะ เก้าอี้ เตียงนอน แม้แต่รถยนต์โบราณมาเข้าฉาก บางเมืองไทยหาไม่ได้ หรือเจ้าของไม่ยอมขาย ต้องไปหาถึงในพม่าและลาว”
ครั้งหนึ่งจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ประกอบฉากหนัง ปัมน้ำมันในยุค ค.ศ.1950 และป้ายโฆษณารุ่นเก่าที่เป็นภาษาอังกฤษ แทบพลิกแผ่นดินหาในเมืองไทย ก็ยังหาไม่ได้ สุดท้ายต้องเข้าไปซื้อถึงในลาว กว่าจะขนข้ามน้ำโขงมาได้ สุดแสนทุลักทุเลอีกครั้ง ได้ใบสั่งให้หาตู้ไม้เก่ายุควิคตอเรียนหรือโคโลเนียล รูปทรงโค้งเว้า มีลวดลายแกะสลัก เฟอร์นิเจอร์ยอดนิยม ยุคที่อังกฤษออกล่าอาณานิคม
ไพโรจน์ต้องใช้วิชาประสานแปดทิศ เข้าไปหาถึงในพม่า จึงได้มาเข้าฉากภารกิจของพร็อพแมน ไม่เพียงซอกแซกหาของมาเข้าฉากหนัง ฉากละคร ของแต่ละชิ้นที่เป็นเป้าหมาย ยังต้องศึกษาหาข้อมูลประกอบจากกรมศิลปากร เช่น สมัยรัชกาลที่ 6 ตามบ้านเรือน ใช้เฟอร์นิเจอร์อย่างไร หรือตามท้องถนนยุคนั้น มีรถยนต์รุ่นไหนใช้บ้าง จะไปหามามั่วๆไม่ได้ ถ้าหาไม่ได้จริงๆ อาร์ตไดเร็กเตอร์ หรือคนออกแบบฉาก จึงจะสั่งให้รีโนเวท รีโปรดักต์ หรือทำเลียนแบบขึ้นมาใหม่ไพโรจน์บอกว่า
การทำของสักชิ้นเลียนแบบของเก่า ให้ได้ทั้งกลิ่นอาย สีสัน และอารมณ์ เหมือนของเก่ายุคอยุธยา หรือสมัย ร.6-ร.8 ไม่ใช่เรื่องง่ายจากจุดนี้เอง ทำให้เขากลายเป็นทั้งแมวมอง นักเจรจา นักเลียนแบบ และจอมตื๊อ (จำเป็น) ระดับมือโปร
“เวลาไปหาเฟอร์นิเจอร์เก่ามาเข้าฉาก บางทีออกไปเป็นอาทิตย์ ได้ของติดมือกลับมาชิ้นเดียว บางทีไม่ได้อะไรเลยที่ยากกว่านั้น เราเป็นคนแปลกหน้าต่างถิ่น จู่ๆจะลุยพรวดเข้าไปหาเจ้าของ ก็ไม่ได้ เขาอาจระแวงว่าไอ้นี่มาดูลาดเลา เตรียมจะงัดแงะ ดีไม่ดี อาจถูกปืนลูกซอง
ดังนั้น ก็ต้องอาศัยเทคนิคในการเข้าหาเป้าหมาย ลูกเล่นเนียนๆที่ไพโรจน์ และผองเพื่อนของเขาใช้เป็นประจำ และมักได้ผลเวลาออกล่าหาของมาขายและเข้าฉาก ก็คือซื้อน้ำกิน ตะล่อมถาม สอดส่ายสายตาสำรวจ “วิธีนี้ถือว่าเป็นธรรมชาติที่สุด เจ้าถิ่นจะยอมคุยด้วยกับคนแปลกหน้า บางวัน ผมต้องซื้อน้ำขวดกินแล้วกินอีก ต่อเนื่องกัน 4-5 ขวด จนฉี่แทบราด” เขาสารภาพ “ดูดน้ำไป ตะล่อมถามไป ชิ้นนั้นชิ้นนี้ในร้าน จะขายมั้ยครับ หรือแถวนี้มีใครขายเฟอร์นิเจอร์เก่าบ้างมั้ยครับ ขอให้ซื้อนำร่องได้สำเร็จสักชิ้น สักเดี๋ยวของชิ้นอื่นก็ตามมา”
ไพโรจน์บอกว่า แหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพดี ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ ชั้นใน เช่น
- แถวทรงวาด
- เยาวราช
รองลงมา
- ภาคกลางแถบ ปทุมธานี อยุธยา อ่างทอง ชัยนาท สุพรรณบุรี
- ภาคเหนือก็พอมี แต่รูปทรงมักออกไปทางศิลปะพื้นบ้าน
เหตุผลที่เฟอร์นิเจอร์ไม้เก่าคุณภาพดี มักกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ ไพโรจน์ บอกว่า เพราะกรุงเทพฯเป็นเมืองหลวง เมืองการค้า มีความเจริญทางวัตถุกว่าที่อื่น เฟอร์นิเจอร์รุ่นเก่าจึงมักมีสไตล์ที่ฟู่ฟ่า หรูหรา หรือใช้วัสดุอย่างฟุ่มเฟือย เพราะรับวัฒนธรรมมาจากต่างชาติโดยตรง
“โดยมากเจ้าของเก่า ที่กำลังจะย้ายบ้านจากกรุงเทพฯชั้นใน ออกไปอยู่ชานเมือง เห็นว่าเฟอร์นิเจอร์เหล่านี้ล้าสมัย ไม่เข้ากับรูปแบบบ้านสมัยใหม่ และไม่อยากขนย้ายให้เป็นภาระ จึงยอมขาย”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น