การเพาะเห็ดในตะกร้าสามารถทำได้ด้วยตนเองสำหรับผู้ที่สนใจ จะทำเพื่อบริโภคภายในครัวเรือนหรือเพื่อเชิงพาณิชย์ก็ทำได้ไม่ยาก ตลาดในปัจจุบันก็ยังสดใสอยู่ ที่
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สกลนคร
ได้มีการศึกษาวิจัยวิธีการประกอบอาชีพเพื่อขยายผลสู่การปฏิบัติใช้ของเกษตรกรโดยทั่วไป ในแต่ละปีมีหลากหลายกิจกรรมด้วยกันหนึ่งในนั้นและกำลังได้รับความนิยมในขณะนี้ก็คือการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า
การแนะนำเกษตรกรจะเริ่มกันที่วัสดุอุปกรณ์ซึ่งประกอบด้วย
ตะกร้าเห็ด หรือตะกร้าที่มีรูด้านใหญ่
เชื้อเห็ดฟางอายุ 15 วัน
อาหารเสริม ใช้มูลสัตว์ เช่น วัว ควาย อัตรา 1:1 4
พลาสติกใส
วิธีการเพาะ
แช่ฟางหรือวัสดุที่ใช้เพาะให้อิ่มตัว หมักกองทิ้งไว้ 1 คืนหรือ 10-12 ชั่วโมง
นำฟางข้าวหรือวัสดุเพาะมาใส่ในตะกร้าหนา 10 ซม. แล้วกดให้แน่น
โรยอาหารเสริมให้ชิดขอบด้านในของตะกร้าแล้วโรยเชื้อทับบาง ๆ
นำฟางข้าวหรือวัสดุเพาะมาใส่ในตะกร้าเหมือนชั้นที่ 1
โรยอาหารเสริมและโรยเชื้อทับ ทำการเพาะ 3–4 ชั้นต่อตะกร้า
เมื่อเพาะเสร็จแล้วให้รดน้ำให้ทั่วตะกร้าคลุมด้วยพลาสติกให้มิดชิด
ประมาณ 12-15 วัน ก็จะเก็บดอกได้
เห็ดฟางเรียกอีกอย่างว่า เห็ดบัว เห็ดฟางเป็นเห็ดที่ขึ้นในเขตร้อนจะเติบโตได้ในที่มีกองปุ๋ยทิ้งไว้นาน หรือกองฟางเก่าที่มีอินทรียวัตถุมากกองเศษไม้เศษหญ้า สปอร์จะงอกเป็นใยอ่อนในอุณหภูมิ 40 องศา
ลักษณะของเห็ดฟางครีบหรือซี่หมวกจะอยู่ด้านหลังของหมวกเห็ดจะเรียงกันเป็นรัศมี ครีบหมวกจะเป็นตัวเกิดของสปอร์ ก้านดอกจะมีขนาดยาวประมาณ 7-8 เซนติเมตร ส่วนบนจะติดกับดอกเห็ด ส่วนก้านดอกจะมีฟางปกคลุมไว้คล้ายถ้วยรอง เปลือกหุ้มเมื่อดอกมันตูมมันจะมีเปลือกหุ้ม แต่โตขึ้นเปลือกหุ้มจะปริออก เพื่อให้หมวกก้านดอกสูงขึ้นและทิ้งเปลือกหุ้มแต่ส่วนใหญ่เป็นสีขาว สปอร์อยู่บริเวณด้านล่างของดอกเห็ดเมื่อแก่ได้ที่จะปลิวออกไปในอากาศไปตกในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้น
เส้นใยเห็ดมี 3 ขั้นตอนคือ
ขั้นที่ 1 เส้นใยขั้นต้นเป็นเส้นที่พนังกั้นเป็นช่อง จะกลายเป็นใย
ขั้นที่ 2 และเส้นใย
ขั้นที่ 3 เมื่อขั้นที่ 2 เจริญเต็มที่จะกลายเป็นฮอร์โมนกระตุ้นเส้นใยต่อไป และกลายไปเป็นเห็ดได้ดูแลให้ดีก็จะเก็บดอกเห็ดได้ประมาณในวันที่ 8-10 โดยไม่ต้องรดน้ำเลย
ผลผลิตโดยเฉลี่ยจะได้ดอกเห็ดประมาณ 1-2 กิโลกรัมต่อกอง
การตรวจดูความร้อนในตะกร้าเพาะเห็ด โดยปกติจะรักษาอุณหภูมิในกองเห็ดโดยเปิดตากลม 5-10 นาที แล้วปิดตามเดิม ทุกวันเช้าเย็น ถ้าวันไหนแดดจัดอุณหภูมิสูงความร้อนในกองเห็ดมาก ก็ควรเปิดชายผ้าพลาสติกให้นานหน่อย เพื่อระบายความร้อนในกองเห็ด
วิธีตรวจสอบความชื้นทำได้โดยดึงฟางออกจากกองเพาะ แล้วลองบิดดู ถ้าน้ำไหลออกมาเป็นสายแสดงว่าแฉะไป แต่ถ้าวัสดุในตะกร้าแห้งไปจะไม่มีน้ำซึมออกมาเลย ถ้าพบว่ากองเห็ดแห้งเกินไปก็ควรเพิ่มความชื้นโดยใช้บัวรดน้ำเป็นฝอยเพียงเบา ๆ ให้ชื้น หลังจากทำการเพาะเห็ดประมาณ 1 อาทิตย์ จะเริ่มมีตุ่มดอกเห็ดสีขาวเล็ก ๆ ในช่วงนี้ต้องงดการให้น้ำโดยตรงกับดอกเห็ด ถ้าดอกเห็ดถูกน้ำในช่วงนี้ดอกเห็ดจะฝ่อและเน่าเสียหาย
ศัตรูของเห็ดฟางจะประกอบด้วย
แมลง จำพวก มด ปลวก ไรเห็ด
วิธีแก้ไขโดยใช้สารเคมีพวก เซฟวินโรยรอบ ๆ พื้นที่ตั้งตะกร้า ห่างประมาณ 1 ศอกอย่าโรยในตะกร้าทำประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนนำตะกร้ามาวาง เพราะจะมีผลต่อการออกดอก ทั้งยังมีสารพิษตกค้างในพื้นที่เพาะเห็ดซึ่งเกิดอันตรายต่อผู้กิน
เห็ดคู่แข่ง คือเห็ดที่ไม่ได้เพาะแต่ขึ้นมาด้วย หรือ
เชื้อโรค อื่น ๆ ที่เป็นศัตรูของเห็ดฟาง เช่น พวกราต่าง ๆ
วิธีแก้คือการเก็บฟางไม่ควรให้ถูกฝน และถ้ามีราขึ้นให้หยิบฟางขยุ้มนั้นทิ้งให้ไกลพื้นที่วางตะกร้า และเมื่อเก็บดอกเห็ดหมดแล้ว นำฟางวัสดุที่ใช้เพื่อเพาะเห็ดเก่านี้ไปหมักเป็นปุ๋ยหมักใช้กับพืชอื่น ๆ ต่อไป.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น