สงสัยหรือไม่ ว่าทำไมนักกีฬาต้องแปะ"เทปสี"?
ในศึกการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2012 ที่เพิ่งเสร็จสิ้นลง หากสังเกตดีๆ จะพบว่า "มาริโอ บาโลเทลลี" กองหน้าตัวแสบของทีมชาติอิตาลี ได้แปะเทปสีดังกล่าวที่หลังของเขาถึง 3 แถบ
การแข่งขันเทนนิสวิมเบิลดัน "โนวัค ยอโควิช" นักหวดชาวเซอร์เบีย ได้แปะเทปสีดังกล่าวไว้ที่ไหล่ของเขาในระหว่างการแข่งขัน
ในศึกการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2012 ที่เพิ่งเสร็จสิ้นลง หากสังเกตดีๆ จะพบว่า "มาริโอ บาโลเทลลี" กองหน้าตัวแสบของทีมชาติอิตาลี ได้แปะเทปสีดังกล่าวที่หลังของเขาถึง 3 แถบ
การแข่งขันเทนนิสวิมเบิลดัน "โนวัค ยอโควิช" นักหวดชาวเซอร์เบีย ได้แปะเทปสีดังกล่าวไว้ที่ไหล่ของเขาในระหว่างการแข่งขัน
แล้วอะไรคือเทปสีที่กำลังฮิตกัน?
บริษัท"คิเนสิโอะ" จากญี่ปุ่น เผยว่า ที่แท้แล้วมันคือเทปสำหรับแปะเพื่อช่วยลดการปวดกล้ามเนื้อ
แม้มันเหมือนจะดูเป็นของใหม่สำหรับใครหลายคน แต่แท้จริงแล้วมันมีที่มาย้อนกลับไปถึงยุค 1970
นายแพทย์เคนโซ คาเสะ กล่าวว่า การออกแบบเกิดขึ้นหลังจากที่เขาค้นพบว่าการรัดด้วยผ้ายางหนืดแบบมาตรฐาน ซึ่งเป็นเทคนิคในการรักษาที่ใช้โดยทั่วไป มีข้อจำกัดเกินไปสำหรับผู้ป่วยบางราย แม้การรักษาด้วยวิธีดังกล่าวจะช่วยในการพยุงกล้ามเนื้อและข้อต่อ แต่มันก็สร้างความไม่สะดวกในการเคลื่อนไหว และจากความเข้าใจของนพ.คาเสะ วิธีที่ว่ามาจะไปขัดขวางกระบวนการเยียวยา โดยจะยับยั้งการไหลของของเหลวที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบใต้ผิวหนัง
เขากล่าวว่าเทปคิเนสิโอะ ทำงานต่างออกไป เนื่องจากมันจะช่วยยกผิวหนัง เพื่อช่วยในการไหลของน้ำเหลือง ที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดและบวม แต่อย่างไรก็ดี นพ.คาเสะยอมรับว่า ยังคงมีผลการศึกษาที่ค่อนข้างน้อย เพื่อพิสูจน์ข้ออ้างทางวิทยาศาสตร์ดังกล่าว
เขากล่าวว่า มีผู้ใช้จำนวนมากที่ได้รับผลการรักษาที่น่าพอใจจากเทปสีดังกล่าวมานานกว่า 30 ปี และเชื่อว่าหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เห็นเด่นชัดดังกล่าว จะช่วยยุติเสียงวิพากษ์วิจารณ์ได้ดี
นพ.คาเสะกล่าวว่า มีหลายคนพยายามทำการวิจัยถึงเทปสีดังกล่าว แต่ทว่าสมาคมคิเนสิโอะนานาชาติ เพิ่งก่อตั้งขึ้นเพียง 5 ปี จึงจำเป็นต้องมีหลักฐานที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังไม่มีรายงานด้านการวิจัย สาเหตุหนึ่งที่ผู้คนใช้คิเนสิโอะเทปก็คือต้องการหาข้อพิสูจน์ดังกล่าว
อย่างไรก็ดี มีข้อชวนให้คิดถึง สิ่งที่เรียกกันว่า "Placebo effect" ซึ่งในทางการแพทย์แล้ว แปลว่า"ฤทธิ์ผลจากยาหลอก"ทั้งๆที่อาจไม่มีผลในการรักษาจริง หากเราเชื่อว่าสิ่งใดที่มีประโยชน์หรือได้ผล มันก็จะได้ผลจริงตามที่เราคาดไว้
จอห์น บริวเออร์ ศาสตราจารย์ด้านการกีฬา จากมหาวิทยาลัยเบดฟอร์เชียร์ กล่าวว่า โดยส่วนตัวเขาคิดว่า มันเป็นมากกว่า Placebo effect ไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ใดๆจากบริษัทผู้ผลิตที่ชี้ให้เห็นว่า มันมีผลต่อการเคลื่อนไหวหรือป้องกันความเจ็บปวด
สิ่งที่เขากังวลก็คือ แทบไม่มีสิ่งใดที่ใช้แปะลงบนผิวหนัง แล้วจะช่วยให้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงต่อกล้ามเนื้อที่อยู่เบื้องล่าง และย้ำว่า "พลัง"และ"ความตึงเครียด"ที่ส่งผ่านข้อต่อในร่างกายมนุษย์มีพลังมหาศาลกว่าที่เราคิด
อย่างไรก็ดี เขากล่าวว่า เขาเองก็ไม่พบว่าเทปสีดังกล่าวจะส่งผลร้ายใดๆต่อร่างกาย นอกเสียจากเมื่อเวลาลอกออก มันจะดึง"ขน"ตามร่างกายของเราออกไปด้วย ในทางทฤษฎี สิ่งใดก็ตามที่สามารถลด"การสั่นไหว"ที่ส่งผ่านกล้ามเนื้อ ขณะที่เรากำลังเล่นกีฬา ก็ถือเป็นประโยชน์ทั้งสิ้น
ฟิล นิวตัน นักกายภาพบำบัดจากศูนย์กีฬาแห่งชาติของอังกฤษ กล่าวว่า มันเป็นธุรกิจที่ทำเงินมหาศาล แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานใดๆ บริษัทหลายแห่งต่างแห่ผลิตมันออกมาจำนวนมาก และแพทย์เวชปฏิบัติก็เริ่มใช้กันบ้างแล้ว เพื่อช่วยลดแรงกดในกล้ามเนื้อภายใต้ผิวหนัง และเมื่อพิจารณาถึงคุณสมบัติความทนต่อแรงดึงของมัน เขาไม่เห็นว่ามันจะทำเช่นนั้นได้จริง นอกเสียจากว่ามันช่วยกระตุ้นความรู้สึกบางอย่าง ซึ่งเป็นพลังมหาศาลจาก Placebo effect ที่ไม่อาจประเมินได้
เขายังทำนายว่า ในมหกรรมโอลิมปิกลอนดอนที่จะถึงนี้ จะเต็มไปด้วยสีสันจากเทปสีดังกล่าวจากบรรดานักกีฬา ขณะที่นพ.คาเสะ กล่าวว่า ที่กีฬาโอลิมปิกเต็มไปด้วยนักกีฬาระดับหัวกะทิ และนักกีฬาเหล่านี้ ย่อมแตกกต่างจากนักกีฬาธรรมดาทั่วไป พวกเขามีความอ่อนไหวสูงและวิตกกังวลได้ง่าย เทปสีของบริษัทเขาจะช่วยให้นักกีฬารู้สึกสบายขึ้น และแน่นอนว่ามันไม่ใช่ยาโด๊ป
แม้มันเหมือนจะดูเป็นของใหม่สำหรับใครหลายคน แต่แท้จริงแล้วมันมีที่มาย้อนกลับไปถึงยุค 1970
นายแพทย์เคนโซ คาเสะ กล่าวว่า การออกแบบเกิดขึ้นหลังจากที่เขาค้นพบว่าการรัดด้วยผ้ายางหนืดแบบมาตรฐาน ซึ่งเป็นเทคนิคในการรักษาที่ใช้โดยทั่วไป มีข้อจำกัดเกินไปสำหรับผู้ป่วยบางราย แม้การรักษาด้วยวิธีดังกล่าวจะช่วยในการพยุงกล้ามเนื้อและข้อต่อ แต่มันก็สร้างความไม่สะดวกในการเคลื่อนไหว และจากความเข้าใจของนพ.คาเสะ วิธีที่ว่ามาจะไปขัดขวางกระบวนการเยียวยา โดยจะยับยั้งการไหลของของเหลวที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบใต้ผิวหนัง
เขากล่าวว่าเทปคิเนสิโอะ ทำงานต่างออกไป เนื่องจากมันจะช่วยยกผิวหนัง เพื่อช่วยในการไหลของน้ำเหลือง ที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดและบวม แต่อย่างไรก็ดี นพ.คาเสะยอมรับว่า ยังคงมีผลการศึกษาที่ค่อนข้างน้อย เพื่อพิสูจน์ข้ออ้างทางวิทยาศาสตร์ดังกล่าว
เขากล่าวว่า มีผู้ใช้จำนวนมากที่ได้รับผลการรักษาที่น่าพอใจจากเทปสีดังกล่าวมานานกว่า 30 ปี และเชื่อว่าหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เห็นเด่นชัดดังกล่าว จะช่วยยุติเสียงวิพากษ์วิจารณ์ได้ดี
นพ.คาเสะกล่าวว่า มีหลายคนพยายามทำการวิจัยถึงเทปสีดังกล่าว แต่ทว่าสมาคมคิเนสิโอะนานาชาติ เพิ่งก่อตั้งขึ้นเพียง 5 ปี จึงจำเป็นต้องมีหลักฐานที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังไม่มีรายงานด้านการวิจัย สาเหตุหนึ่งที่ผู้คนใช้คิเนสิโอะเทปก็คือต้องการหาข้อพิสูจน์ดังกล่าว
อย่างไรก็ดี มีข้อชวนให้คิดถึง สิ่งที่เรียกกันว่า "Placebo effect" ซึ่งในทางการแพทย์แล้ว แปลว่า"ฤทธิ์ผลจากยาหลอก"ทั้งๆที่อาจไม่มีผลในการรักษาจริง หากเราเชื่อว่าสิ่งใดที่มีประโยชน์หรือได้ผล มันก็จะได้ผลจริงตามที่เราคาดไว้
จอห์น บริวเออร์ ศาสตราจารย์ด้านการกีฬา จากมหาวิทยาลัยเบดฟอร์เชียร์ กล่าวว่า โดยส่วนตัวเขาคิดว่า มันเป็นมากกว่า Placebo effect ไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ใดๆจากบริษัทผู้ผลิตที่ชี้ให้เห็นว่า มันมีผลต่อการเคลื่อนไหวหรือป้องกันความเจ็บปวด
สิ่งที่เขากังวลก็คือ แทบไม่มีสิ่งใดที่ใช้แปะลงบนผิวหนัง แล้วจะช่วยให้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงต่อกล้ามเนื้อที่อยู่เบื้องล่าง และย้ำว่า "พลัง"และ"ความตึงเครียด"ที่ส่งผ่านข้อต่อในร่างกายมนุษย์มีพลังมหาศาลกว่าที่เราคิด
อย่างไรก็ดี เขากล่าวว่า เขาเองก็ไม่พบว่าเทปสีดังกล่าวจะส่งผลร้ายใดๆต่อร่างกาย นอกเสียจากเมื่อเวลาลอกออก มันจะดึง"ขน"ตามร่างกายของเราออกไปด้วย ในทางทฤษฎี สิ่งใดก็ตามที่สามารถลด"การสั่นไหว"ที่ส่งผ่านกล้ามเนื้อ ขณะที่เรากำลังเล่นกีฬา ก็ถือเป็นประโยชน์ทั้งสิ้น
ฟิล นิวตัน นักกายภาพบำบัดจากศูนย์กีฬาแห่งชาติของอังกฤษ กล่าวว่า มันเป็นธุรกิจที่ทำเงินมหาศาล แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานใดๆ บริษัทหลายแห่งต่างแห่ผลิตมันออกมาจำนวนมาก และแพทย์เวชปฏิบัติก็เริ่มใช้กันบ้างแล้ว เพื่อช่วยลดแรงกดในกล้ามเนื้อภายใต้ผิวหนัง และเมื่อพิจารณาถึงคุณสมบัติความทนต่อแรงดึงของมัน เขาไม่เห็นว่ามันจะทำเช่นนั้นได้จริง นอกเสียจากว่ามันช่วยกระตุ้นความรู้สึกบางอย่าง ซึ่งเป็นพลังมหาศาลจาก Placebo effect ที่ไม่อาจประเมินได้
เขายังทำนายว่า ในมหกรรมโอลิมปิกลอนดอนที่จะถึงนี้ จะเต็มไปด้วยสีสันจากเทปสีดังกล่าวจากบรรดานักกีฬา ขณะที่นพ.คาเสะ กล่าวว่า ที่กีฬาโอลิมปิกเต็มไปด้วยนักกีฬาระดับหัวกะทิ และนักกีฬาเหล่านี้ ย่อมแตกกต่างจากนักกีฬาธรรมดาทั่วไป พวกเขามีความอ่อนไหวสูงและวิตกกังวลได้ง่าย เทปสีของบริษัทเขาจะช่วยให้นักกีฬารู้สึกสบายขึ้น และแน่นอนว่ามันไม่ใช่ยาโด๊ป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น