ผลการสำรวจดัชนีนวัตกรรมโลกปี 2554 ไทยได้อันดับ 48 จาก 125 ประเทศ ที่มีการพัฒนาด้านนวัตกรรม
นางปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยถึงผลการสำรวจดัชนีนวัตกรรมโลกปี 2554 (Global Innovation Index 2011) ที่จัดทำโดย The Business School of the World ซึ่งเป็นการสำรวจและจัดลำดับความสามารถทางนวัตกรรมของประเทศต่างๆ 125 ประเทศทั่วโลก พบว่า
ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 48 โดยมี
สวิสเซอร์แลนด์เป็นอันดับ 1 ส่วน
อันดับ 2 คือ สวีเดน
อันดับ 3 คือ สิงคโปร์
ขณะที่
ขณะที่
สหรัฐฯ อยู่ในอันดับ 7,
เกาหลีอันดับที่ 16,
ญี่ปุ่นอันดับที่ 20,
จีนอันดับที่ 29,
มาเลเซียอันดับที่ 31,
เวียดนามอันดับที่ 51 และ
อินเดียอันดับที่ 62 เป็นต้น
สำหรับดัชนีนวัตกรรมโลก วัดจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในการพัฒนานวัตกรรม เช่น สภาพแวดล้อมทางการเมือง, กฎระเบียบของรัฐ, สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ, การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์และการวิจัย, โครงสร้างพื้นฐาน, ข้อมูลการส่งออก และประสิทธิภาพทางด้านวิทยาศาสตร์ รวมถึงจำนวนผู้ยื่นขอจดสิทธิบัตร, ผู้ยื่นขอจดเครื่องหมายการค้า และจำนวนผู้ยื่นขอจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาผ่านระบบ PCT และ Madrid Protocol
ในรายงานระบุว่า ขณะนี้ประเทศเศรษฐกิจใหม่ เช่น จีน อินเดีย และเกาหลี ได้ให้ความสำคัญกับการเพิ่มการลงทุนในนวัตกรรมในอุตสาหกรรมต่างๆ มากขึ้น ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมแฟชั่นดีไซน์ที่ประเทศใหม่ๆ เหล่านี้เริ่มมีบทบาทนำในตลาดมากขึ้น จากเดิมมีแต่นักออกแบบจากประเทศแถบยุโรป เช่น อิตาลี ฝรั่งเศส เป็นผู้นำ
นางปัจฉิมา กล่าว ‘นักออกแบบรุ่นใหม่เหล่านี้ได้นำนวัตกรรมและวัฒนธรรมท้องถิ่นมาผสมผสานกับโลกยุคใหม่ เกิดเป็นรูปแบบใหม่ รวมถึงมีการนำนวัตกรรมมาผสมผสานกับการออกแบบ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า เช่น การผลิตสิ่งทอ หรือ เครื่องนุ่งห่มอัจฉริยะ เช่น เนคไท หรือเสื้อที่สามารถวัดการเต้นของหัวใจ และเป็นเครื่องมือรายงานสุขภาพของผู้ใส่ เป็นต้น’
สำหรับดัชนีนวัตกรรมโลก วัดจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในการพัฒนานวัตกรรม เช่น สภาพแวดล้อมทางการเมือง, กฎระเบียบของรัฐ, สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ, การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์และการวิจัย, โครงสร้างพื้นฐาน, ข้อมูลการส่งออก และประสิทธิภาพทางด้านวิทยาศาสตร์ รวมถึงจำนวนผู้ยื่นขอจดสิทธิบัตร, ผู้ยื่นขอจดเครื่องหมายการค้า และจำนวนผู้ยื่นขอจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาผ่านระบบ PCT และ Madrid Protocol
ในรายงานระบุว่า ขณะนี้ประเทศเศรษฐกิจใหม่ เช่น จีน อินเดีย และเกาหลี ได้ให้ความสำคัญกับการเพิ่มการลงทุนในนวัตกรรมในอุตสาหกรรมต่างๆ มากขึ้น ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมแฟชั่นดีไซน์ที่ประเทศใหม่ๆ เหล่านี้เริ่มมีบทบาทนำในตลาดมากขึ้น จากเดิมมีแต่นักออกแบบจากประเทศแถบยุโรป เช่น อิตาลี ฝรั่งเศส เป็นผู้นำ
นางปัจฉิมา กล่าว ‘นักออกแบบรุ่นใหม่เหล่านี้ได้นำนวัตกรรมและวัฒนธรรมท้องถิ่นมาผสมผสานกับโลกยุคใหม่ เกิดเป็นรูปแบบใหม่ รวมถึงมีการนำนวัตกรรมมาผสมผสานกับการออกแบบ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า เช่น การผลิตสิ่งทอ หรือ เครื่องนุ่งห่มอัจฉริยะ เช่น เนคไท หรือเสื้อที่สามารถวัดการเต้นของหัวใจ และเป็นเครื่องมือรายงานสุขภาพของผู้ใส่ เป็นต้น’
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น