ผลสำรวจอาหารทั่วปท. ปนเปื้อนสารเคมีอื้อ คอก๋วยเตี๋ยวจ๊าก "พริกป่น"ตรวจพบ100%

6.10.53
โดยประชาชาติธุรกิจ เมื่อ 6 ต.ค.2553

คนไทยตายผ่อนส่ง นักวิชาการเผยผลสำรวจอาหารทั่วประเทศ ปนเปื้อนสารเคมี ทั้งยาฆ่าแมลง- สารกันบูด- สารฟอกขาว เกินมาตรฐานทั้งในผักผลไม้ เส้นก๋วยเตี๋ยว อาหารแห้ง อึ้งแม้แต่นมโรงเรียน 1 ใน 4 ยังมีแบคทีเรียปน ชี้อาหารทะเลสดจากเพื่อนบ้านพบทั้งโลหะหนักและน้ำยาดองศพปริมาณสูง จวก อย.ดูแลไม่ทั่วถึง เสนอเพิ่มบทบาทท้องถิ่น สอดส่องเฝ้าระวัง
ผศ.ดร.พรรัตน์ สินชัยพานิช นักวิจัยสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล  เปิดเผยสำรวจอาหารปนเปื้อนที่เกินมาตรฐานความปลอดภัยในเขต 8 จังหวัด ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ตั้งแต่เดือนกันยายน 2552-เมษายน2553 สนับสนุนโดย



แผนงานสร้างเสริมการเรียนรู้กับสถาบันอุดมศึกษาไทยเพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะที่ดี(นสธ.) 
+
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 


พบว่าในกลุ่มตัวอย่างอาหารทั่วไป เช่น 


- นมโรงเรียนชนิดพาสเจอร์ไรซ์ มี ปริมาณแบคทีเรียรวมเกินมาตรฐานร้อยละ 25  
- นมชนิดยูเอ็ชที เกินร้อยละ 5   
- ใส้กรอก ทั้งหมู ไก่และกุนเชียง มีสารกันบูดกว่าร้อยละ 36  
- ลูกชิ้นหมู ไก่และปลา พบการใช้สารกันบูดถึงร้อยละ 100 และใช้ดินประสิวในระดับไม่ปลอดภัยร้อยละ 26






ดร.พรรัตน์  กล่าวว่า 


ประเภท ผักผลไม้ พบการปนเปื้อนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง ร้อยละ 58  โดยใน
- สาลี่ 
- ลูกพลับสด 
- ส้ม 
- องุ่นและ
- ถั่วฝักยาว พบมากถึงร้อยละ 78 


- แอปเปิล 
- บร็คคเคอรี่ 
- ดอกกะหล่ำ 
- กะหล่ำปลีและ
- แตงโม เกินมาตรฐานร้อยละ 25-50  


- เห็ดหูหนูขาว พบ สารเคมีกำจัดแมลงเกินมาตรฐานร้อยละ 9  และสารฟอกขาวร้อยละ 56 


สาหร่ายแกงจืด ร้อยละ 36  
กุ้งแห้งและปลาหมึกแห้ง พบการปนเปื้อนเคมีกำจัดศัตรูพืชร้อยละ 64 และร้อยละ 62 ตามลำดับ 


ที่น่าตกใจ


พริกขี้หนูป่น พบร้อยละ 100    



 
“อาหารที่ประชาชนนิยมบริโภค เช่น 


ก๋วยเตี๋ยวก็พบสารกันบูดเช่นกัน โดย

-เส้นใหญ่ พบร้อยละ 88  
-เส้นเล็ก ร้อยละ 75  
-เส้นหมี่ขาวและบะหมี่ ร้อยละ 40 และ  50 ตามลำดับ 

อาหารกินเล่นอย่าง 

-สาหร่ายอบกรอบปรุงรส พบราพิษอะฟลาท็อกซินร้อยละ 8 ดับ” ผศ.ดร.พรรัตน์  กล่าว



รศ.ดร. นวลศรี รักอริยะธรรม  ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า  ที่น่าจับตาคือ

อาหารนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน  ซึ่งจากการสุ่มตรวจ พบว่า 

- อาหารทะเลสด นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน พบ 
การปนเปื้อนฟอร์มาลีนร้อยละ 67 และ
โลหะหนักสารหนูร้อยละ 4 ขณะที่

-ผักและผลไม้ ปนเปื้อนสารเคมีกำจัดแมลง ร้อยละ 36  
-สารฟอกขาวในผักแห้งร้อยละ 47  
-สารตะกั่วในสาหร่ายและเยื่อไผ่ ร้อยละ 8 
-ปรอท ในก้านเห็ดหอม หน่อไม้แห้ง เห็ดหอมและเยื่อไผ่ ร้อยละ 17 ร้อยละ 12 
-ขนมพร้อมบริโภค ลูกอมและเยลลี่ พบสีสังเคราะห์เกินมาตรฐานร้อยละ 20



 
ดร. นวลศรี กล่าวว่า ผลกระทบของสารปนเปื้อนในอาหารเหล่านี้ หากสะสมในร่างกาย เช่น 

-สารฟอกขาว จะทำให้หายใจติดขัด ความดันโลหิตต่ำ 
-สารพิษตกค้างจากยาฆ่าแมลง จะทำให้ร่างกายอ่อนแอขาดความต้านทานโรค หากได้รับเข้าสู่ร่างกายเป็นจำนวนมากจะเกิดอาการวิงเวียน คลื่นไส้ หายใจติดขัด ช็อกและเสียชีวิต ส่วน
-สารกันบูด ที่อยู่ในเนื้อหมู ลูกชิ้น ไส้กรอก จะเป็นพิษต่อต่อมไตและสมอง ทำให้ระบบทางเดินอาหารเกิดการระคายเคือง  สารเหล่านี้ถ้าได้รับในปริมาณมากอาจอาเจียน มีไข้ และเสียชีวิตได้ 
-สารอะฟลาทอกซิน จะมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งในตับสูง 

“อาหารที่ผลิตทั้งในประเทศและนำเข้า ล้วนมีอันตรายทั้งสิ้น ที่น่ากังวลคือเราไม่รู้ว่าอาหารที่เรากินในแต่ละวันนั้นมาจากไหน มีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด ซึ่งผู้บริโภคเป็นผู้แบกรับโดยตรง เหมือนเป็นการตายผ่อนส่ง”รศ.ดร. นวลศรี กล่าว

ดร. นวลศรี กล่าวว่า กลไกควบคุมอาหารปลอดภัยของของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก็ยังคงมีข้อจำกัด แม้จะมีการการเฝ้าระวัง แต่ส่วนใหญ่ยังคงพึ่งชุดทดสอบ (test kits) เป็นหลัก ทำให้ได้ผลเพียงคร่าว ๆ และไม่สามารถตรวจสอบได้ครอบคลุมสารปนเปื้อนสำคัญ ๆ ได้หมด

ข้อจำกัดอีกด้านคือความทั่วถึงของการตรวจและเฝ้าระวัง และข้อกฎหมายด้านความปลอดภัยที่ขาดความชัดเจนในมาตรฐานบางตัวและบทลงโทษที่ไม่รุนแรง การเฝ้าระวังจึงควรเพิ่มบทบาทผู้บริโภคที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศร่วมกับภาควิชาการ และให้บทบาทของ อปท. ในเรื่องนี้มากขึ้น ในอนาคต อปท. ต้องจัดสรรงบประมาณดำเนินการเป็นหลัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น