เอ็นไซม์ย่อยกระดาษลามิเนติ คว้ารางวัล “เวิลด์ อีโคโนมิกส์ ฟอรัม”

4.12.54
โดยผู้จัดการ เมื่อ 1 ก.ย.2553

เอสเอ็มอีไทยเจ้าของผลงานเอ็นไซม์ย่อย “กระดาษลามิเนต” ที่ยากต่อการรีไซเคิล คว้ารางวัลนักบุกเบิกเทคโนโลยีจากเวลา “เวิลด์ อีโคโนมิกส์ฟอรัม” ผลงานต่อยอดแทนใยหินสำหรับวัสดุไฟเบอร์ซีเมนต์ได้

อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยแจ้งว่า

บริษัท เฟล็กโซ่รีเสิร์ช กรุ๊ป 

บริษัทในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เป็น 1 ใน 31 บริษัทที่ได้รับเลือกให้เป็น 

“ผู้บุกเบิกเทคโนโลยี” ประจำปี 2011 ( Technology Pioneers 2011)

จากเวที 

“เวิลด์ อีโคโนมิกส์ฟอรัม” (World Economic Forum) ในสาขาเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม 

จากผลงานนวัตกรรมที่ส่งเข้าประกวดรวม 330 ผลงาน

บริษัทดังกล่าวมีผลงาน “เอนไซม์สูตรพิเศษสำหรับรีไซเคิลเศษกระดาษลามิเนต” ซึ่งสามารถในการย่อยเศษกระดาษลามิเนต ที่แยกกระดาษออกจากวัสดุลามิเนตได้ยาก เป็นปัญหาในการรีไซเคิลและมีต้นทุนสูงในการกำจัด และกระดาษที่ย่อยได้สามารถนำไปเป็นวัสดุทดแทนใยหินในอุตสาหกรรมผลิตไฟเบอร์ซีเมนต์ได้

ดร. เจนกฤษณ์ คณาธารณา ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย 

เปิดเผยว่า บริษัท เฟล็กโซ่ รีเสิร์ช กรุ๊ป ซึ่งตั้งอยู่ใน

อุทยานวิทยาศาสตร์ฯ เพื่อวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ 

ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี อุทยานวิทยาศาสตร์ฯ เพื่อพัฒนานวัตกรรมดังกล่าว ตั้งแต่การให้คำปรึกษาการวางแนวคิดธุรกิจ การปรับปรุงนวัตกรรมให้เหมาะสม การเชื่อมโยงกับเครือข่ายนักวิจัยชั้นนำของประเทศ จนถึงการนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาด ทำให้พัฒนาธุรกิจและนวัตกรรมจนเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ

ด้าน 

นายไพจิตร แสงไชย ผู้บริหารระดับสูงและผู้ก่อตั้งบริษัท เฟล็กโซ่รีเสิร์ช กรุ๊ป 

เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้รับรางวัลดังกล่าวเนื่องจากเป็นนวัตกรรมที่ไม่มีใครทำได้มาก่อน โดยเป็นนวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาการรีไซเคิลเศษกระดาษลามิเนต เช่น 

- กระดาษเคลือบกันความชื้นสำหรับห่อของ และ
- กระดาษหลังสติกเกอร์ 

เป็นต้น ซึ่งรีไซเคิลได้ยาก เพราะไม่สามารถแยกกระดาษออกจากวัสดุลามิเนตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ต้องนำไปเผาทำลาย ก่อให้เกิดมลพิษและส่งผลต่อสุขภาพ

นอกจากนี้ยังนำกระดาษที่ย่อยได้นี้ไปใช้เป็นวัสดุทดแทนใยหิน เสริมความแกร่งในวัสดุก่อสร้างประเภทไฟเบอร์ซีเมนต์ โดยไม่ต้องเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง เนื่องจากเอนไซม์ดังกล่าวมีสูตรเฉพาะ ไม่ทำให้เยื่อกระดาษที่ได้เละจนเกินไป แต่เยื่อกระดาษที่รีไซเคิลมาได้นี้มีจำนวนเส้นใยที่มาก ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีความยืดหยุ่นตัวสูง สามารถรับแรงกระแทกได้ดีขึ้น”

“ผมเห็นว่ายังคงต้องพัฒนาและวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ผมจึงตัดสินใจเช่าพื้นที่เพื่อทำวิจัยและพัฒนาในอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ โดยจัดตั้งห้องปฏิบัติการในอาคารศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ทำให้บริษัทได้ทำงานใกล้ชิดกับนักวิจัยของศูนย์แห่งชาติ และรับทราบเทรนด์เทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เสมอ” นายไพจิตรกล่าว

ดร. เจนกฤษณ์ กล่าวว่า ปัจจุบันอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ มีบริษัทผ่านการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีแล้ว 37 ราย และมีผู้เช่าพื้นที่เพื่อทำการวิจัยและพัฒนา 60 ราย โดยพื้นที่เช่าที่ออกแบบมาเฉพาะเพื่อรองรับกิจกรรมการวิจัยและพัฒนา และยังเปิดโอกาสให้ผู้เช่าได้สร้างเครือข่ายวิจัยและพัฒนาร่วมกับนักวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีแห่งชาติต่างๆ รวมถึงบริษัทเอกชนที่ทำวิจัยอยู่ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยเอง และมหาวิทยาลัยใกล้เคียง นอกจากนี้ยังสามารถเข้าถึงบริการวิเคราะห์ทดสอบ และการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เพื่อการวิจัยและพัฒนาอีกด้วย



1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ5 ธันวาคม 2554 เวลา 22:58

    คนไทยมีแบบนี้เยอะ ๆ
    ประเทศชาติเจริญ ร่ำรวยแน่นอนคร๊าบ

    ตอบลบ