“องครักษ์เพาะเห็ด” เป็นต่อความรู้ ยึดหัวหาดตลาดเห็ดสด

5.3.55
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 มีนาคม 2554

เมื่อสมัยยังเป็นนักศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นอกจากเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์การเกษตรแล้ว

“พฤทธิพงศ์ ไชยเวช” 

ยังเป็นรองประธานชมรมเห็ดอีกด้วย

เจ้าตัวเล่าว่า ไม่คิดเหมือนกันว่าองค์ความรู้ที่เคยร่ำเรียนในรั้วมหาวิทยาลัย จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน จนทำให้ประสบความสำเร็จกับธุรกิจที่สร้างมากับมือ

หลังเรียนจบ อาชีพแรกที่พฤทธิพงศ์เลือกทำ คือผู้รับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจเดินหน้าไปด้วยดี จนถึงวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ส่งผลให้พฤทธิพงศ์เข้าขั้นล้มละลาย

“ไม่มีงาน ไม่มีเงิน” พฤทธิพงศ์ กลับไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี บ้านเกิดของภรรยา ปลูกบ้านขึ้นจากวัสดุก่อสร้างที่ยังเหลืออยู่ และด้วยเงินลงทุนจากทางบ้านอีก 80,000 บาท เขาสร้าง

โรงเพาะขึ้นในบ้านเพื่อเพาะเห็ดนางฟ้า

ขายในตลาดภายในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้ชื่อกิจการว่า 

“องครักษ์เพาะเห็ด”

ที่เลือกเพาะเห็ด เพราะเล็งเห็นว่าตนเองมีความรู้อยู่บ้างจากสมัยเป็นนักศึกษา อีกทั้งเห็ดยังเป็นพืชที่ปลูกง่าย อาศัยแค่ความชื้นเป็นหลัก

เมื่อตัดสินใจเข้าสู่วงการนี้ พฤทธิพงศ์ไม่ได้นิ่งนอนใจ หาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆ ก่อนจะพบว่าในช่วง 10 กว่าปีที่เขาเรียนจบมา วงการเห็ดไม่ได้มีความก้าวหน้าขึ้นเลย

หลังจากศึกษาเพิ่มเติมจนมีองค์ความรู้ที่มั่นใจแล้ว เขาเริ่มปรับปรุงพันธุ์เห็ดขึ้นใหม่ ใช้ระยะเวลากว่า 3 ปี จึงเกิดเห็ดสายพันธุ์ใหม่ เขาเรียกมันว่า 

เห็ดนางฟ้าภูฎานดอกอ่อน

เห็ดนางฟ้าสายพันธุ์ใหม่ มีจุดเด่นที่แตกต่างจากเห็ดนางฟ้าสายพันธ์เดิมอยู่ 3 ข้อหลัก

1. ลักษณะโครงสร้างดอกจะหนา เมื่อโดนความร้อนจากการปรุงอาหาร ดอกเห็ดก็ยังคงรูปเดิม


2. คงสภาพเดิม ดอกไม่เหี่ยว เก็บรักษาได้นานกว่าถึง 7 วัน จากสายพันธ์เดิมได้ 3-4 วัน


3. รสชาติที่ดีขึ้น กลิ่นเฉพาะของเห็ดจางหายไป

เมื่อเห็ดนางฟ้าภูฎานดอกอ่อน ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ จนมีลักษณะทางสายพันธุ์ที่คงที่ และพร้อมวางจำหน่าย ก็เป็นเวลาเดียวกันกับที่เห็ดเริ่มล้นตลาดสุพรรณบุรี พฤทธิพงศ์เริ่มมองหาตลาดใหม่ที่กรุงเทพฯ โดยประเดิมจาก

ตลาด 4 มุมเมือง

ผลตอบรับที่ได้ดีเกินคาด ถึงมีราคาแพงกว่าเห็ดนางฟ้าทั่วไป แต่ลูกค้าก็พอใจมากกว่า ทั้งเรื่องคุณภาพ และการแบ่งขายเห็ดเป็นแพ็ค เพื่อเพิ่มความสะดวก จนในที่สุดก็สามารถสร้างแบรนด์ขึ้นมาได้ถึง 2 แบรนด์

เริ่มจาก 

- เห็ดตราเพชร 

จะส่งตามตลาดสี่มุมเมือง ตลาด อตก. เป็นหลัก ส่วน

- แบรนด์ Green Hut เป็นเห็ดชั้นพรีเมียม 
คัดเฉพาะยอดอ่อน ส่งขายตาม

ห้างสรรสินค้า 
ดีพาร์ทเม้นสโตร์ และ
ดิสเคาท์สโตร์ทั่วไป รวมถึงใน
ร้านเพื่อสุขภาพอย่าง 
โกลเด้น เพลส, 
เลมอนฟาร์ม 

รวมถึง

ร้านสุกี้ชื่อดัง 

ก็เลือกใช้เห็ดจากที่นี่เช่นกัน

นับเป็น Entrepreneur อีกรายที่ประสบความสำเร็จจากความพยายามของตัวเอง และน่าศึกษาอยู่ไม่น้อย

ติดต่อ “องครักษ์เพาะเห็ด” ได้ที่ 0 3542 2403 หรือทางเว็บไซต์ www.suanhed.com

*** ข้อมูลโดย นิตยสาร SMEs Plus ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกรกฎาคม 2553 *****

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น