การปลูกผักหวานป่า

22.11.52
ผักหวานผักหวานเป็นพืชที่ใช้ปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิด และยังเป็นพืชสมุนไพร ผักหวานมี 2 ชนิด คือ ผักหวานบ้าน และผักหวานป่า เพื่อความเข้าใจผักหวานทั้ง 2 ชนิด ขออธิบายโดยสรุป ดังนี้

ผักหวานบ้าน (EUPHORBIACEAE:Sauropus abicans)

ผักหวานบ้านเป็นไม้พุ่มต้นเล็ก ๆ ใบคล้ายใบมะยม แต่มีนวลขาว ๆ บนหน้าใบ ดอกเล็กเป็น ช่อสีแดง ๆ ขาว ๆ คล้ายใบมะยมมาก แต่ ผลเล็กกว่า มีสีเขียวอ่อนนวล ๆ จานรอง ผลมีสีแดงเข้มติดห้อยย้อยตามกิ่งใต้ ใบน่าดูมาก ต้นสูงประมาณ 2-4 ฟุต มีขึ้นตามพื้นที่ลุ่มต่ำ และทั่ว ๆ ไป และปลูกกันบ้างตามบ้านสวน

ผักหวานป่า (OPILLACEAE :Melientha Suavis)

ผักหวานป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อมถึงขนาดกลาง ใบใหญ่ยาวคล้ายใบมะตูมผิวขาวนวล ผลกลม ๆ เล็ก ๆ สีแดงรับประทานได้ มีขึ้นเอง ตามป่าราบ มีทุกภาคในประเทศไทย ใบอ่อน ใช้รับประทานได้เช่นใบผักหวานบ้าน แต่รสหวานดี กว่าผักหวานบ้านมาก การเก็บใบผักหวานไปรับประทานต้อง ใช้การสังเกตและพิจารณาให้ละเอียด โดยมีต้นไม้ อีกชนิดหนึ่งเรียกว่า "ต้นเสน" เป็นไม้ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ลำต้นออกมีสี หม่น ๆ และใบหนากว่ากันเล็กน้อย ใบต้น เสนถ้ารับประทานเข้าไปจะทำให้คลื่นเหียนอาเจียน คอแห้งอ่อนเพลียหมดสติ ถ้ากำลังน้อยอาจตายได้ ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

วิธีการปลูก

ผักหวานบ้านเป็นพืชที่ปลูกง่ายนิยมใช้ต้นอ่อนมา ปลูกในสวน ริมรั้วบ้านหรือที่ใกล้แหล่งน้ำ ปลูกเพียง 4-5 ต้นก็นำใบมาปรุง อาหารได้

ผักหวานป่า เป็นพืชป่าที่ปลูกค่อนข้างมาก มี ผู้ทดลองปลูกหลายวิธี เช่น

1. นำเมล็ดที่ร่วงจากต้นใหม่ ๆ มา เพาะในถุงพลาสติกเมื่อเป็นต้นอ่อนแล้วย้ายไปปลูก ในหลุมดิน

2. นำต้นอ่อนที่ขึ้นอยู่ในป่ามา อนุบาลในถุงพลาสติก เมื่อโตพอควรแล้วย้ายลง หลุมที่เตรียมไว้

3. ตัดกิ่งมาเพาะชำในถุงพลาสติก ตั้ง ไว้ในเรือนเพาะชำจนติดรากแล้วย้ายลง หลุมดิน

อย่างไรก็ตามเมื่อย้ายต้นผักหวานจากที่เดิม ไปปลูกในหลุมดินที่เตรียมไว้ผักหวานมักเหี่ยว เฉาและตายในที่สุด สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะรากผักหวานมีปมจับจุลินทรีย์ใน ดินเมื่อปมเหล่านี้กระทบกระเทือนผักหวานก็ตาย ใน

ปัจจุบันได้มีนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นได้ค้นคิด ปุ๋ยจุลินทรีย์เร่งให้รากผักหวานผลิตปม จับธาตุอาหารให้แข็งแรง และสามารถเพาะผักหวานออก แพร่หลายอย่างได้ผลจนสามารถปลูกเป็นสวนต้น ผักหวานป่าได้

คุณค่าประโยชน์

3.1 คุณค่าด้านสมุนไพร แพทย์ตามชนบทใช้ รากผักหวานป่าเป็นยาระงับความร้อน ถอนพิษไข้ ซ้ำ ไข้กลับ เนื่องจากรับประทานของแสลงส่วนผักหวาน ป่านอกจากจะใช้รากเป็นยาสงบพิษร้อน กระสับกระส่าย ยังมีสรรพคุณแก้น้ำดีพิการแก้เชื่อมมัว

3.2 คุณค่าด้านอาหาร ผักหวานใช้เป็นอาหาร ได้หลายชนิดนับแต่ ต้มจิ้มน้ำพริกหรือ แจ่ว ผัด อ่อม และแกง

-----------------------------



ผักหวานป่าทำเงินที่อำเภอแวงใหญ่
ผักหวานป่าพืชสมุนไพร 

ขึ้นชื่อว่าของป่าย่อมเป็นของหายาก และกว่าจะได้มาต้องใช้เวลา เช่นเดียวกับผักหวานป่าของพ่อประมวล วอนนอก เกษตรกร บ้านดงบัง ตำบลคอนฉิม อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งปลูกผักหวานป่า บนพื้นที่กว่า 2 ไร่ จำนวนประมาณ 12,000 ต้น กำลังให้ผลผลิต พ่อประมวล เล่าให้ฟังว่าได้แนวความคิดเอาปลูกผักหวานป่ามาปลูก โดยเริ่มแรกจาก

พ่อบุญเต็ม ชัยลา ปราชญ์ชาวบ้านได้เหมารถ
พาเกษตรกรไปศึกษาดูงานที่บ้านหม้อ จังหวัดสระบุรี ตนจึงคิดอยากจะปลูกผักหวานบ้าง จึงขอซื้อต้นกล้าผักหวานจากพ่อบุญเต็ม ต้นละ 15 บาท จำนวน 100 ต้น ปลูกบนพื้นที่ 1 งาน

ช่วงหลังได้ซื้อ เมล็ดพันธุ์ในราคากิโลกรัมละ 250 บาท

มาเพาะกล้าปลูกเอง พ่อประมวลได้เล่าถึงขั้นตอนการจัดการแปลงผักหวานตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวให้ฟัง

การเตรียมดิน

ดินที่ปลูกในรอบแรก จำนวน 100 ต้น เป็นดินที่ได้มาจากการขุดบ่อเลี้ยงปลา จึงต้องมีการปรับเกลี่ยหน้าดินให้เสมอกัน ปลูกรอบแรกจะไม่มีการยกร่องแต่ในรอบหลังที่ปลูกจากการเพาะเมล็ดได้มีการยกร่อง

การปลูก เตรียมหลุมปลูกให้พอดีกับถุงกล้าหรืออาจจะกว้างกว่าถุงเล็กน้อย ระยะปลูก 2 X 2 เมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกผสมกับหน้าดินทิ้งไว้ 15 วัน ให้ปุ๋ยคอกเย็น

การถอดถุงต้นกล้าลงหลุม พ่อประมวลบอกว่าต้องระวังอย่าให้ดินแตกหรือรากผักหวานขาด เพราะจะทำให้ผักหวานหยุดการเจริญเติบโต ต้องทำอย่างระมัดระวัง หลังจากปลูกต้องรดน้ำทุกวันและควรทำที่พรางแสงแดดให้โดยใช้ทางมะพร้าวหรือจะปลูกไม้ให้ร่มเงาไปพร้อมเลย ที่สวนจะเป็นต้นแค เพราะเป็นไม้ที่โตเร็วและสามารถเก็บดอกจำหน่ายและบริโภคได้

การเพาะเมล็ดผักหวานป่าอย่างไรให้รอดตาย 

1) นำเมล็ดมาล้างขุดเนื้อหุ้มเมล็ดออกทิ้ง ขัดล้างให้สะอาด แล้วแยกเมล็ดที่ลอยน้ำทิ้ง นำเมล็ดที่จมขึ้นมาผึ่งลม 2 วัน ห้ามตากแดด

2) นำเมล็ดมาคลุกกับทรายให้ทั่ว แล้วเอาทรายทับด้านบนไม่ให้เห็นเมล็ดผักหวาน

3) คลุมด้วยกระสอบป่านรดน้ำทุกวันประมาณ 3 อาทิตย์ เมล็ดผักหวาน จะเริ่มแทงรากยาวประมาณ 1 เซนติเมตร

4) ย้ายลงถุงเพาะที่เตรียมไว้ โดยผสมแกลบเผา +ปุ๋ยคอก ในอัตรา 3 : 1 โดยประมาณ

5) นำไปเก็บไว้ในร่ม รดน้ำทุกวัน จนต้นกล้าผักหวานอายุ 1 เดือน จึงย้ายลงหลุมปลูกที่เตรียมไว้ พ่อประมวล เล่าต่อว่าต้นกล้าที่ย้ายลงหลุม ถ้ามีใบเลี้ยงติดอยู่กับต้นกล้ายิ่งดีโอกาสรอดจะมากกว่าที่ไม่มีใบเลี้ยง

การดูแลรักษา
v การให้น้ำ
ในการปลูกช่วงแรก ๆ รดน้ำทุกวัน พอผักหวานตั้งตัวได้แล้วให้เหลือรดน้ำอาทิตย์ละครั้ง หลังจากปลูกได้ 15 วัน จะให้ฮอร์โมนพืช ( ทุ่งเศรษฐี , ไบโอซาน) ที่สวนจะให้น้ำด้วยระบบน้ำหยดในช่วงเริ่มปลูกใหม่ ๆ แต่ในช่วงหลังได้เปลี่ยนมาใช้ระบบสปริงเกอร์
v การให้ปุ๋ย 
จะใส่เฉพาะปุ๋ยคอกและปุ๋ยชีวภาพ ประมาณ 1 – 2 ปี๊บต่อต้น โดยโรยรอบ ๆ ห่างจากต้นประมาณ 50 เซนติเมตร หรือโรยตามร่องปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่ก่อนผักหวานแตกยอดและออกดอก ครั้งที่ 2 ใส่หลังเก็บเกี่ยวยอดหมดแล้วเพื่อบำรุงต้น และมีการเสริมฮอร์โมนพืช เป็นครั้งคราวในช่วงเก็บผลผลิต ที่สำคัญที่สวนของพ่อประมวลจะไม่มีการใส่ปุ๋ยเคมี

v โรค / แมลง / วัชพืชและการป้องกันกำจัด

ผักหวานป่าเป็นพืชที่พบโรคแมลงน้อย ที่สวนจะมีหนอนกัดกินใบและยอดอ่อนแต่ไม่มาก และเสี้ยนดินในช่วงปลูกใหม่ ๆ วัชพืชจะพบบ้างในช่วงหน้าฝน

การป้องกันและการกำจัด พ่อประมวลเล่าว่าตนจะเดินสำรวจแปลงผักหวานเสมอถ้าพบหนอนจะใช้วิธีกำจัดด้วยมือ ถ้าเป็นดักแด้จะเก็บออกมาทำลายจะไม่ใช้สารเคมี

การกำจัดวัชพืชใช้วิธีถอนเอา เพราะถ้าใช้จอบถากจะทำให้รากผักหวานกระทบกระเทือน ต้นผักหวานป่าและชะงักการเจริญเติบโตและตายควรใช้วิธีการถอนหรือใช้เคียวเกี่ยววัชพืชจะดีกว่า

การเก็บเกี่ยว

เมื่อผักหวานป่ามีอายุประมาณ 3 ปี จะเริ่มเก็บผลผลิต โดยการตัดยอดอ่อนยาวประมาณ 15 – 20 เซนติเมตร ซึ่งจะเก็บผลผลิตประมาณเดือน กุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม ช่วงที่ผักหวานออกมากที่สุดคือเดือน มีนาคมถึงเดือนเมษายน การเก็บยอดผักหวานป่าจะเก็บในช่วงเช้าถึงเที่ยง จากนั้นนำยอดผักหวานป่าที่เก็บมาจุ่มในน้ำที่สะอาดอย่างเร็วนำมาวางบนแคร่แล้วคลุมด้วยผ้าที่ชุบน้ำเพื่อไม่ให้ยอดผักหวานเหี่ยว

ทคนิคการทำผักหวานให้ออกนอกฤดู
เราสามารถกำหนดการแตกยอดของผักหวานป่าได้ วิธีการคือ การตัดแต่งกิ่งผักหวานป่าทั้งต้นเพื่อกระตุ้นโดยการรูดใบแก่บนต้นออกเกือบหมดในช่วงเดือนพฤศจิกายน- ธันวาคม ให้เหลือใบติดกิ่งอยู่บ้างแต่น้อยมาก พร้อมหักกิ่งแขนงออกครึ่งหนึ่งของความยาวกิ่ง ถ้าหักกิ่งยาวเกินไป ยอดอ่อนที่แตกออกมาจะไม่สวย ผอม และออกน้อย หลังจากที่ตัดแต่งกิ่งเสร็จจะต้องให้น้ำบ่อยอย่างน้อย 3 -5 วัน ต่อครั้ง ก่อนหน้าจะตัดแต่งกิ่งถ้ามีการให้ปุ๋ยคอกจะดีมากๆ ประมาณ 1 เดือน (มกราคม ) ผักหวานป่าจะแตกยอดอ่อนออกมาให้เก็บขายได้โดยจะมียอดให้เก็บทุก ๆ 7 วัน
ต้นผักหวานป่าที่เก็บเกี่ยวนอกฤดูหมดแล้ว ควรพักต้นเลยและบำรุงด้วยปุ๋ยคอกและให้น้ำเพื่อจะผลิตผักหวานนอกฤดูในฤดูกาลต่อไป

แหล่งจำหน่าย 
ขายส่งที่ตลาดอำเภอพล อ. หนองสองห้อง อ. บ้านไผ่ โดยขายกิโลกรัมละ 200 บาท ในช่วงต้นเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ ส่วนช่วงที่ผักหวานออกมากจะขายได้กิโลกรัมละ 120 -170 บาท

ผักหวานป่าต้นหนึ่งสามารถเก็บยอดได้ประมาณ 800 กรัม / ต้น นับว่าเป็นรายได้ที่ดีมาก ๆ หลังจากเก็บยอดแล้วควรมีการให้ปุ๋ยคอกและน้ำ เพื่อบำรุงต้นในช่วงที่ผักหวานพักต้นในช่วงหน้าฝน

นอกจากจะเก็บยอดขายแล้ว พ่อประมวล ยังได้มีการเพาะเมล็ดเพื่อจำหน่ายอีกทางหนึ่งด้วย ราคาจำหน่ายต้นละประมาณ 15-20 บาท ผักหวานป่าจึงน่าเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งในการทำอาชีพด้านการเกษตร แต่การปลูกผักหวานป่ามีข้อจำกัด คือ การขยายพันธุ์ที่ได้ผลดีที่สุด คือการเพาะเมล็ดเท่านั้น ทำให้การเจริญเติบโตช้าเก็บผลผลิตได้ช้าด้วยและการเก็บยอดจำหน่ายยังไม่สามารถทำได้ตลอดทั้งปี

ข้อมูลเพิ่มเติม
v พันธุ์ของผักหวานป่า

ผักหวานป่าจะมีด้วยกัน 2 สายพันธุ์ คือ

1) พันธุ์ยอดสีเหลือง จะมีการเจริญโต ค่อนข้างช้ากว่าและทรงพุ่มจะเตี้ยกว่าพันธุ์ยอดเขียว

2) พันธุ์ยอดสีเขียว จะมีการเจริญโตดี เร็วกว่าพันธุ์ยอดสีเหลือง

v ประโยชน์และคุณค่าทางสมุนไพรของผักหวานป่า
ผักหวานป่าเป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงมาก มีอายุยืนยาวนานเป็นร้อย ๆ ปี ใช้ประโยชน์ได้ทั้งใบอ่อน ยอดอ่อน และช่อดอกนำมาบริโภค เพราะผักหวานป่ามีรสชาติที่อร่อย หวาน มัน กรอบ ปลอดภัยจากสารพิษ และอุดมด้วยคุณค่าทางอาหารที่เป็นประโยชน์ เช่น สารเบต้า – แคโรทีน วิตามินซี และวิตามินบี 2 เป็นต้น

คุณค่าทางสมุนไพร ใช้รากผักหวานป่าต้มดื่มระงับพิษ แก้พิษร้อน กระสับกระส่าย แก้น้ำดีพิการ แก้ร้อนในกระหายน้ำ เป็นยาลดไข้ ยางจากใบผักหวานป่าใช้กวาดคอเด็ก และแก้ลิ้นเป็นฝาขาว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น