แจ๊ค เวลซ์
อดีตซีอีโอของบริษัท จีอี
ได้รับการยกย่องจากวารสารฟอร์จูนเดือน พ.ย. ค.ศ. 1999 ว่าเป็นผู้จัดการยอดเยี่ยมของศตวรรษนี้ ...
หลังจากเกษียณ เขาเดินสายบรรยายทั่วโลกกว่า 3 ปี จากคำถามของผู้จัดการชั้นยอดทั่วโลกกว่า 150 ครั้ง เขาและภรรยาคือซูซี ตัดสินใจที่จะรวบรวมคำตอบเหล่านั้นเป็นหนังสือที่ชื่อว่า Winning
ซูซี
หลังจากเกษียณ เขาเดินสายบรรยายทั่วโลกกว่า 3 ปี จากคำถามของผู้จัดการชั้นยอดทั่วโลกกว่า 150 ครั้ง เขาและภรรยาคือซูซี ตัดสินใจที่จะรวบรวมคำตอบเหล่านั้นเป็นหนังสือที่ชื่อว่า Winning
ซูซี
เคยเป็นอดีตบรรณาธิการหนังสือวารสารฮาร์วาร์ดบิซิเนสรีวิว วารสารธุรกิจชั้นนำของโลก มาเพิ่มสีสันอย่างมากกับหนังสือเล่มนี้
เมื่อนำ 3 ปัจจัย คือ คำถามจากยอดผู้จัดการ คำตอบจากซูเปอร์ซีอีโอ และการเรียบเรียงจากอดีตยอดบรรณาธิการทำให้หนังสือเล่มนี้เด่นมาก ขนาด
เมื่อนำ 3 ปัจจัย คือ คำถามจากยอดผู้จัดการ คำตอบจากซูเปอร์ซีอีโอ และการเรียบเรียงจากอดีตยอดบรรณาธิการทำให้หนังสือเล่มนี้เด่นมาก ขนาด
วอร์เร็น บัฟเฟต์
เขียนหน้าปกให้บอกว่า
“อ่านเล่มนี้แล้วไม่ต้องอ่านหนังสือเรื่องการบริหารเล่มใดอีกเลย”
ตอกย้ำด้วยคำพูดของบิลล์ เกตส์ในปกท้ายว่า “ตรงไปตรงมา กระชับ โดยมีแนวทางว่าจะประสบความสำเร็จในโลกธุรกิจอย่างไรสำหรับทุกคน ตั้งแต่จบใหม่ยันซีอีโอ”
หนังสือแบ่งออกเป็น 5 ภาค 20 บท คือ
- พื้นฐาน มี 5 บท คือ พันธกิจ ค่านิยมองค์กร ความโปร่งใสตรงไปตรงมา การบริหารผลงานตามความสามารถ และคุณค่าของแต่ละบุคคล
- องค์กรของคุณ มี 5 บท คือ ภาวะผู้นำ การสรรหาบุคลากร การบริหารคน การให้ออก การเปลี่ยนแปลง การบริหารวิกฤต
- การแข่งขัน มี 5 บทเช่นกัน คือ ยุทธศาสตร์ งบประมาณ การเติบโต การควบรวม และ Six Sigma
- ความก้าวหน้าทางอาชีพ มี 4 บท คือ งานที่ตรงกับเรา การได้รับการเลื่อนขั้น จุดอับ และการบริหารความสมดุลงานกับส่วนตัว
- ภาคท้ายมีบทเดียวที่ ตอบคำถามประเภทนานาสาระ
หนังสือเล่มนี้มีแนวทางที่เรานำไปไช้ได้จริง อย่างไรก็ตาม มีข้อควรระวัง 2 ข้อ คือ มันไม่ใช่อะไรที่สำเร็จรูปแบบมาม่า และเป็นสิ่งที่แจ๊คทำแล้วเวิร์กในช่วงที่เขาเป็นซีอีโอ โดยที่มีปัจจัยต่างๆ เช่น การนำปรัชญาการพูดแบบตรงไปตรงมามาใช้ (ซึ่งแจ๊คใช้เวลานับ 10 ปี กว่าจะสร้างวัฒนธรรมองค์กรนี้ที่จีอี) ยังไม่นับรวมถึงการที่จีอีมีเครื่องมือการจัดการต่างๆ
ต้องใช้ดุลพินิจนำไปประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสมแต่ละองค์กร ผมสรุปสำหรับคอลัมน์ 3 สัปดาห์ โดยสรุปบทที่ 5 เรื่องภาวะผู้นำ บทที่ 6 เรื่องการสรรหา และบทที่ 7 เรื่องบริหารคน แต่ว่าท่านต้องไปอ่านทั้ง 20 บท เพื่อเรียนรู้ทางลัดจากแจ๊ค
ภาวะผู้นำ
สมัยที่เราเป็นระดับปฏิบัติการความสำเร็จมาจากการพัฒนาตัวเรา พอมาเป็นผู้นำความสำเร็จมาจากการพัฒนาคนอื่นๆ
ภาวะผู้นำมีเรื่องของความขัดแย้งกันในตัวเองของระยะสั้นและระยะยาวอยู่เยอะ เช่น คำถามยอดฮิตว่า “ผมจะต้องทำให้ผลงานไตรมาสนี้เข้าเป้า และในขณะเดียวกันก็ต้องทำให้แผนงาน 5 ปี ดำเนินไปได้ด้วยดี จะเอาไงกันแน่ครับ”
แจ๊คตอบว่า “ยินดีต้อนรับสู่โลกแห่งความเป็นจริง ใครก็บริหารระยะสั้นได้เพียงแค่ลดทุกอย่างซี และใครก็บริหารระยะยาวอย่างเดียวได้ก็นั่งฝันเข้าไป แต่ว่าคุณเป็นผู้นำเพราะว่ามีใครบางคนเชื่อมั่นว่าคุณสามารถจะทำได้ทั้ง 2 กรณี พร้อมๆ กัน เขาเห็นศักยภาพ ประสบการณ์ และความหนักแน่นในตัวคุณไง
การบริหารสิ่งที่ขัดแย้งกันในตัวเอง เป็นเรื่องของภาวะผู้นำและภาวะผู้นำไม่มีเช็กลิสต์ให้หรอก”
แจ๊คเสนอ 8 ข้อที่เขาเรียกว่ากฎของผู้นำ
1. ผู้นำไม่ลดละความพยายามที่จะยกระดับคน
หนังสือแบ่งออกเป็น 5 ภาค 20 บท คือ
- พื้นฐาน มี 5 บท คือ พันธกิจ ค่านิยมองค์กร ความโปร่งใสตรงไปตรงมา การบริหารผลงานตามความสามารถ และคุณค่าของแต่ละบุคคล
- องค์กรของคุณ มี 5 บท คือ ภาวะผู้นำ การสรรหาบุคลากร การบริหารคน การให้ออก การเปลี่ยนแปลง การบริหารวิกฤต
- การแข่งขัน มี 5 บทเช่นกัน คือ ยุทธศาสตร์ งบประมาณ การเติบโต การควบรวม และ Six Sigma
- ความก้าวหน้าทางอาชีพ มี 4 บท คือ งานที่ตรงกับเรา การได้รับการเลื่อนขั้น จุดอับ และการบริหารความสมดุลงานกับส่วนตัว
- ภาคท้ายมีบทเดียวที่ ตอบคำถามประเภทนานาสาระ
หนังสือเล่มนี้มีแนวทางที่เรานำไปไช้ได้จริง อย่างไรก็ตาม มีข้อควรระวัง 2 ข้อ คือ มันไม่ใช่อะไรที่สำเร็จรูปแบบมาม่า และเป็นสิ่งที่แจ๊คทำแล้วเวิร์กในช่วงที่เขาเป็นซีอีโอ โดยที่มีปัจจัยต่างๆ เช่น การนำปรัชญาการพูดแบบตรงไปตรงมามาใช้ (ซึ่งแจ๊คใช้เวลานับ 10 ปี กว่าจะสร้างวัฒนธรรมองค์กรนี้ที่จีอี) ยังไม่นับรวมถึงการที่จีอีมีเครื่องมือการจัดการต่างๆ
ต้องใช้ดุลพินิจนำไปประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสมแต่ละองค์กร ผมสรุปสำหรับคอลัมน์ 3 สัปดาห์ โดยสรุปบทที่ 5 เรื่องภาวะผู้นำ บทที่ 6 เรื่องการสรรหา และบทที่ 7 เรื่องบริหารคน แต่ว่าท่านต้องไปอ่านทั้ง 20 บท เพื่อเรียนรู้ทางลัดจากแจ๊ค
ภาวะผู้นำ
สมัยที่เราเป็นระดับปฏิบัติการความสำเร็จมาจากการพัฒนาตัวเรา พอมาเป็นผู้นำความสำเร็จมาจากการพัฒนาคนอื่นๆ
ภาวะผู้นำมีเรื่องของความขัดแย้งกันในตัวเองของระยะสั้นและระยะยาวอยู่เยอะ เช่น คำถามยอดฮิตว่า “ผมจะต้องทำให้ผลงานไตรมาสนี้เข้าเป้า และในขณะเดียวกันก็ต้องทำให้แผนงาน 5 ปี ดำเนินไปได้ด้วยดี จะเอาไงกันแน่ครับ”
แจ๊คตอบว่า “ยินดีต้อนรับสู่โลกแห่งความเป็นจริง ใครก็บริหารระยะสั้นได้เพียงแค่ลดทุกอย่างซี และใครก็บริหารระยะยาวอย่างเดียวได้ก็นั่งฝันเข้าไป แต่ว่าคุณเป็นผู้นำเพราะว่ามีใครบางคนเชื่อมั่นว่าคุณสามารถจะทำได้ทั้ง 2 กรณี พร้อมๆ กัน เขาเห็นศักยภาพ ประสบการณ์ และความหนักแน่นในตัวคุณไง
การบริหารสิ่งที่ขัดแย้งกันในตัวเอง เป็นเรื่องของภาวะผู้นำและภาวะผู้นำไม่มีเช็กลิสต์ให้หรอก”
แจ๊คเสนอ 8 ข้อที่เขาเรียกว่ากฎของผู้นำ
1. ผู้นำไม่ลดละความพยายามที่จะยกระดับคน
ใช้ทุกโอกาสในการประเมิน โค้ช และสร้างความมั่นใจให้กับทีม การประเมินครอบคลุมไปถึงการจัดคนให้ตรงกับงาน สนับสนุนเขา โยกย้ายคนที่ไม่เหมาะกับงาน การโค้ชรวมไปถึงการทำทุกวิถีทางที่จะบอกเรื่องผลงานแบบตรงไปตรงมาเพื่อทำให้เขาทำงานได้ดีที่สุด การพัฒนาคนต้องทำทุกวัน ไม่ใช่พูดคุยกันปีละครั้งตอนประเมินผลงาน ให้มองว่าผู้นำคือชาวสวนที่มือขวาถือกระบวยรดน้ำ มือซ้ายถือปุ๋ย บางครั้งก็ต้องถอนต้นไม้ที่ไม่ดีออกไป ส่วนใหญ่แล้วเป็นการเพาะบ่ม แล้วรอคอยการเติบโตของไม้นั้น
2. ผู้นำต้องมั่นใจว่าทุกคนเข้าใจวิสัยทัศน์อย่างชัดเจน
ขนาดหายใจเข้าออกเป็นวิสัยทัศน์ พูดง่ายๆ ว่าปลุกคนของเรากลางดึกนี่ท่องได้แบบอาขยานเลย เขาบอกว่าสมัยเขานั้น ช่วงที่เขาพูดเกี่ยวกับวิสัยทัศน์นั้นจ้ำจี้จำไชจนตัวเองเอียนไปเลย แต่ต้องทำ โดยสื่อสารกับทุกระดับ ไม่ใช่แค่ระดับจัดการ
3. ผู้นำกระตุ้นจูงใจให้คนมีความรู้สึกกระตือรือร้นและคิดบวกในการทำงาน
3. ผู้นำกระตุ้นจูงใจให้คนมีความรู้สึกกระตือรือร้นและคิดบวกในการทำงาน
ผู้นำต้องต่อสู้กับแรงเสียดทานเชิงลบ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะไปพูดหวานหลอกพนักงาน เราต้องแสดงออกให้พวกเขาเห็นว่าเรามีพลังและกำลังใจ มีทัศนคติ “เราทำได้” เมื่อเผชิญกับปัญหาและความท้าทาย ซึ่งเราต้องไม่นั่งจมปลักในออฟฟิศ แต่ต้องออกไปทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับทีมงาน ให้เขารู้สึกได้จริงๆ ว่าเราแคร์พวกเขา
4.ตรงไปตรงมา โปร่งใส และเชื่อถือได้
5. กล้าตัดสินใจในเรื่องที่ฝืนความรู้สึกคนหมู่มาก และมั่นใจในสัญชาตญาณตัวเอง
4.ตรงไปตรงมา โปร่งใส และเชื่อถือได้
5. กล้าตัดสินใจในเรื่องที่ฝืนความรู้สึกคนหมู่มาก และมั่นใจในสัญชาตญาณตัวเอง
การตัดสินใจบางอย่างอาจมีแรงต่อต้านสูงจากคนของเรา ต้องเริ่มต้นด้วยการรับฟังพวกเขาอย่างตั้งใจ แล้วอธิบายเหตุผลของการตัดสินใจให้ชัดเจนที่สุด และลงมือดำเนินการ อย่ามัวรีรอ หรือปลอบประโลมมากเกินไป เราเป็นผู้นำไม่ได้เป็นเพราะว่าต้องการมาหาคะแนนนิยม เรามาเพื่อนำพวกเขา คุณได้รับการแต่งตั้งแล้ว ไม่ต้องหาเสียงสนับสนุนแบบนักการเมือง ในบางกรณีคุณอาจต้องใช้สัญชาตญาณในการตัดสินใจ กล้าและมั่นใจ อย่าลังเล คุณได้เป็นผู้นำเพราะมีประสบการณ์และเห็นมามากกว่าคนอื่น
6. กล้าถาม กล้าซักค้าน และผลักดันให้เกิดงาน
6. กล้าถาม กล้าซักค้าน และผลักดันให้เกิดงาน
เวลาที่เราเป็นระดับปฏิบัติการ เราต้องเก่งและรอบรู้ในงานของเรา แต่เมื่อเรากลายเป็นผู้นำแล้ว บทบาทเปลี่ยนไป เราต้องถามเก่งแทน บางทีคุณอาจจะดูเหมือนคนที่โง่ที่สุดในห้องประชุมจากคำถามของคุณ และเมื่อถามไปแล้วก็ให้แน่ใจว่าได้คำตอบ ตลอดจนคนของเรานำสิ่งที่บอกจะทำไปทำจริงๆ อย่ามั่นใจว่าคนบอกอะไรเราแล้วเขาจะทำตามที่บอก ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง
7. ผู้นำจุดประกายให้คนกล้าเสี่ยง โดยการทำตัวให้เป็นแบบอย่าง
7. ผู้นำจุดประกายให้คนกล้าเสี่ยง โดยการทำตัวให้เป็นแบบอย่าง
สมัยทำงานใหม่ๆ แจ๊คเคยทดลองเคมีบางอย่างจนห้องแล็บระเบิด แต่ไม่มีใครบาดเจ็บ เขาวิตกมากเมื่อต้องไปรายงานสิ่งที่เกิดกับผู้บริหารระดับสูงที่ชื่อชาร์ลี รีด แทนที่จะได้รับการตำหนิและกล่าวโทษ ชาร์ลีกับแสดงความเห็นใจ สอบถามถึงสาเหตุอย่างเป็นระบบ แนะนำกระบวนการและสอนวิธีการป้องกันปัญหาในอนาคต แจ๊คนอกจากจะได้เรียนรู้แนวทางการทำงานแล้ว เขายังได้เรียนรู้ว่าจะทำอย่างไรอย่างเหมาะสม เมื่อผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดผิดพลาดขึ้นมา
8. ฉลองความสำเร็จสำหรับแต่ละคนที่ทำงานเป็นเลิศ
8. ฉลองความสำเร็จสำหรับแต่ละคนที่ทำงานเป็นเลิศ
แจ๊คไม่ชอบงานสังสรรค์ประจำปี เพราะคนส่วนใหญ่ไม่สนุกนัก แต่เขาหมายถึงการที่ใครบางคนทำงานยอดเยี่ยม ก็ต้องมีการสมนาคุณ เช่น ให้รางวัลพิเศษด้วยการให้พาครอบครัวไปเที่ยวดิสนีย์แลนด์
บทที่ 6 แนวทางการสรรหา
สมัยทำงานใหม่ๆ แจ๊คบอกว่าเขาเลือกคนได้เหมาะเพียง 50% ภายหลังเก่งกล้าสามารถก็พัฒนาได้เป็น 80%
3 คุณสมบัติเบื้องต้น
1. ความซื่อตรง (Integrity) พูดความจริง รักษาคำพูด รับผิดชอบกับสิ่งที่ตัวเองทำ ยอมรับผิดอย่างเปิดเผยและแก้ไขมัน รู้กฎหมาย ระเบียบ และทำตามอย่างเคร่งครัด เล่นตามกฎกติกามารยาท
2. ฉลาด โดยระวังไม่ดูจากสถาบันและวุฒิ
3. Maturity มิใช่อายุ มันคือ การที่สามารถทนแรงกดดันได้ และสนุกกับงานและผู้คน รับรู้ความรู้สึกของคนอื่น ร่าเริง
จากนั้นให้พิจารณา 4-E 1P
1. Positive Energy กระตือรือร้นมีพลัง มองโลกในแง่ดี
2. Energize other กระตุ้นจูงใจคนอื่นได้ดี
3. Edge กล้าตัดสินใจ ไม่ใช่ประเภทขอข้อมูลเพิ่มแล้วรีรออยู่นั่น
4. Execute ทำงานให้บรรลุผลสำเร็จได้จริง
5. Passion สนุกกับงาน แคร์คนรอบตัวและทีม ชอบการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง และสนับสนุนให้คนรอบๆ ตัวสนุกกับงานและเรียนรู้ด้วย
ในกรณีระดับสูงมีคุณสมบัติเพิ่มคือ
1. เป็นตัวของตัวเอง มีค่านิยมอะไรก็แสดงออกอย่างนั้น เพราะว่าระดับสูงต้องตัดสินใจเรื่องยากบ่อยๆ มิฉะนั้นก็จะแสดงออกมาแบบขัดแย้งกับตัวเอง เชื่อมั่นในตนเอง กล้าตัดสินใจแบบรวดเร็วอย่างกล้าหาญ เพราะจำเป็นเมื่อเผชิญวิกฤต
2. มองไปข้างหน้าแล้วสามารถเห็นในสิ่งที่คนส่วนใหญ่คาดการณ์ไม่ถึง
3. สรรหาคนที่เก่งและฉลาดกว่าเขามาทำงานด้วย ไม่กลัวที่อาจจะเป็นคนที่เก่งและฉลาดน้อยกว่าลูกทีม
4. อึดสุดขีด สมัยนี้ผู้นำต้องทำผิดพลาดบ่อยๆ กล้าเผชิญสถานการณ์กดดัน กล้าลองผิดลองถูก ที่สำคัญ คือ ผิดแล้วเรียนรู้ ลุกขึ้นสู้ใหม่ ไม่ใช่หนี
เรื่องบริหารคน โดยมี 6 ข้อ คือ ...
1. ยกระดับฝ่ายบุคคลให้สูงขึ้น อย่างน้อยเทียบเท่ากับฝ่ายการเงิน ฝ่ายบุคคลที่เก่งต้องเป็นทั้งพระและพ่อแม่ คือ รับฟังคนของเรา และกำกับเรื่องวินัยได้ดี แจ๊คเล่าว่าในอดีตฝ่ายบุคคลถูกมองแบบผิดๆ เพราะว่า
a. เรื่องคนเป็นเรื่องที่จับต้องได้ยาก นอกจากนี้ คนส่วนใหญ่คิดว่าตนเองไม่มีปัญหาในการบริหารคน เรามักได้ยินบ่อยๆ ว่า “ผมให้ความสำคัญกับคน” แต่หาได้ทำหรือรู้จริงแต่อย่างใด กลับไม่คิดว่าต้องพึ่งฝ่ายบุคคล
b. ติดกับดักงานเอกสารและงานธุรการมากไป
c. สมัย ค.ศ. 1960-1970 ที่จีอีฝ่ายบุคคลจะเป็นเหมือนมาเฟียสามารถทำให้ใครรุ่งหรือร่วงได้ แถมไม่ค่อยมีกระบวนการโปรโมตที่เป็นระบบเท่าไรนัก
2. ประเมินผลงานด้วยวิธีการที่เป็นระบบแบบจริงจัง โดยมีแนวทาง คือ
a. ง่ายและชัดเจน การประเมินผลงานควรมีไม่เกินสองหน้ากระดาษ โดยบอกว่าทำอะไรได้ดี และต้องปรับปรุงอะไร
b. ต้องวัดกันที่ผลงานตามที่ได้ตกลงกันล่วงหน้า
c. แบบเป็นทางการอย่างน้อยปีละครั้ง ถ้าให้ดีทุก 6 เดือน อย่างไม่เป็นทางการทำบ่อยเท่าที่จะทำได้ ทุกวันหรือทุกโอกาสที่ทำงานร่วมกันกับคนของเรา บอกให้เขารู้ว่าเขาทำได้ดีมากน้อยเพียงใด และอยู่ในระดับไหนเมื่อเทียบกับคนอื่น
d. ต้องมีการระบุแผนงานพัฒนาและเรียนรู้ในการประเมินผลงานด้วย
3. มีระบบสำหรับการให้รางวัล จูงใจ การยอมรับผลงาน และฝึกอบรม อย่าปล่อยให้คนเก่งๆ ต้องมาลาออกเพราะว่าไม่มีคนหรือระบบที่บอกกับเขาว่า เขาทำงานได้ดีเพียงใด นอกจากนี้อย่าละเลยเรื่องฝึกอบรม โดยเฉพาะคนเก่งๆ เขาอยากยกระดับตัวเองให้ดียิ่งขึ้น
4. มีวิธีการแบบมืออาชีพเมื่อต้องจัดการเรื่องของคน คือ
a. สหภาพ สร้างสัมพันธภาพกับสหภาพตลอดเวลา หมั่นพูดคุย พบปะและสื่อสารกับสหภาพอย่างสม่ำเสมอ อย่ารอให้เกิดการสไตรก์แล้วค่อยมาสร้างสัมพันธภาพกัน
b. ดาวรุ่ง พวกดาวรุ่งอาจจะเป็นมารได้หากจัดการไม่ดี เมื่อใดก็ตามที่ดาวรุ่งเริ่มทำอะไรออกนอกลู่นอกทางแบบไม่ใช่มืออาชีพ อย่ากลัวหรือปล่อยให้เขาทำตามอำเภอใจ หัวหน้าภายใต้การสนับสนุนของฝ่ายบุคคล ต้องเรียกเขามาคุยทันที บอกสิ่งที่เขาทำผิดอย่างตรงไปตรงมา อย่าปล่อยให้ดาวรุ่งเอาบริษัทเป็นตัวประกัน และพร้อมหากว่าเขาลาออกให้มีคนแทนได้ใน 8 ชั่วโมง
c. พวกดีแล้วล้มไป บางคนอาจจะมาจากสาเหตุนานาประการที่เคยเก่งแล้วตกไป อาจจะต้องโยกย้ายหรือหาทางจุดประกายกระตุ้นให้เขาเก่งเหมือนเดิม อย่าปล่อยให้เสียของ บางครั้งทำให้คนอื่นติดเชื้อไปด้วย
d. พวกก่อกวน เผชิญหน้าแบบตรงไปตรงมา หลายๆ กรณีอาจจะต้องนำเขาออกจากพื้นที่ หลายคนแก้ไขลำบาก พวกนี้ทำให้เสียบรรยากาศเปล่าๆ
5. ที่จีอีสมัยแจ๊คมีการแบ่งคนตามผลงานเป็น 3 กลุ่ม คือ คนเก่ง 20% ปานกลาง 70% ต่ำ 10% พวกผลงานต่ำหากไม่ดีขึ้น จะถูกให้ออก แต่แจ๊คเตือนว่าอย่าลืมว่างานส่วนใหญ่ในองค์กรเดินไปได้ เพราะคนกลุ่มปานกลาง นี่คือกระดูกสันหลัง คือคนทำงานที่ก้มหน้าก้มตาทำงาน อย่าละเลยพวกเขา โดยไปมุ่งดูแลเฉพาะคนเก่งเท่านั้น แล้วลืมพัฒนาและจูงใจคนกลุ่มใหญ่ ใช้เวลากว่า 50% กับคนกลุ่มนี้ ประเมินเขา สอนเขา ให้กำลังใจเขา แจ๊คแนะนำว่าในกลุ่มคนระดับปานกลางนั้นก็มี 3 ระดับเช่นกัน ฉะนั้นต้องพัฒนาคนในกลุ่มนี้ตามระดับของเขา แจ๊คเน้นว่าการจัดกลุ่มนั้นเป็นไปตลอดเวลา อย่าคิดว่าอยู่ตรงไหนแล้วถูกตีตราตลอดไป ระบบมีไว้เพื่อให้คนตื่นตัวและพัฒนาตนเอง
6. จัดองค์กรให้แบนราบ องค์กรที่มีขั้นตอนมากก็เสียเวลาและค่าใช้จ่าย การลื่นไหลของข้อมูลช้ามีขั้นตอนสับสนวุ่นวาย ผู้จัดการควรมีสายงานบังคับบัญชาดูแลลูกน้องอย่างน้อยสิบคนที่รายงานตรงกับเขา พยายามมีคนรายงานตรงกับผู้จัดการแต่ละคนให้มากกว่า 30-50% ของระดับปกติ
บทสรุปทั้ง 3 สัปดาห์นี้ นำมาเล่าเพียง 3 บท ยังมีเหลือรอให้ท่านอ่านอีก 17 บท รีบไปหามาอ่านกันนะครับ
บทที่ 6 แนวทางการสรรหา
สมัยทำงานใหม่ๆ แจ๊คบอกว่าเขาเลือกคนได้เหมาะเพียง 50% ภายหลังเก่งกล้าสามารถก็พัฒนาได้เป็น 80%
3 คุณสมบัติเบื้องต้น
1. ความซื่อตรง (Integrity) พูดความจริง รักษาคำพูด รับผิดชอบกับสิ่งที่ตัวเองทำ ยอมรับผิดอย่างเปิดเผยและแก้ไขมัน รู้กฎหมาย ระเบียบ และทำตามอย่างเคร่งครัด เล่นตามกฎกติกามารยาท
2. ฉลาด โดยระวังไม่ดูจากสถาบันและวุฒิ
3. Maturity มิใช่อายุ มันคือ การที่สามารถทนแรงกดดันได้ และสนุกกับงานและผู้คน รับรู้ความรู้สึกของคนอื่น ร่าเริง
จากนั้นให้พิจารณา 4-E 1P
1. Positive Energy กระตือรือร้นมีพลัง มองโลกในแง่ดี
2. Energize other กระตุ้นจูงใจคนอื่นได้ดี
3. Edge กล้าตัดสินใจ ไม่ใช่ประเภทขอข้อมูลเพิ่มแล้วรีรออยู่นั่น
4. Execute ทำงานให้บรรลุผลสำเร็จได้จริง
5. Passion สนุกกับงาน แคร์คนรอบตัวและทีม ชอบการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง และสนับสนุนให้คนรอบๆ ตัวสนุกกับงานและเรียนรู้ด้วย
ในกรณีระดับสูงมีคุณสมบัติเพิ่มคือ
1. เป็นตัวของตัวเอง มีค่านิยมอะไรก็แสดงออกอย่างนั้น เพราะว่าระดับสูงต้องตัดสินใจเรื่องยากบ่อยๆ มิฉะนั้นก็จะแสดงออกมาแบบขัดแย้งกับตัวเอง เชื่อมั่นในตนเอง กล้าตัดสินใจแบบรวดเร็วอย่างกล้าหาญ เพราะจำเป็นเมื่อเผชิญวิกฤต
2. มองไปข้างหน้าแล้วสามารถเห็นในสิ่งที่คนส่วนใหญ่คาดการณ์ไม่ถึง
3. สรรหาคนที่เก่งและฉลาดกว่าเขามาทำงานด้วย ไม่กลัวที่อาจจะเป็นคนที่เก่งและฉลาดน้อยกว่าลูกทีม
4. อึดสุดขีด สมัยนี้ผู้นำต้องทำผิดพลาดบ่อยๆ กล้าเผชิญสถานการณ์กดดัน กล้าลองผิดลองถูก ที่สำคัญ คือ ผิดแล้วเรียนรู้ ลุกขึ้นสู้ใหม่ ไม่ใช่หนี
เรื่องบริหารคน โดยมี 6 ข้อ คือ ...
1. ยกระดับฝ่ายบุคคลให้สูงขึ้น อย่างน้อยเทียบเท่ากับฝ่ายการเงิน ฝ่ายบุคคลที่เก่งต้องเป็นทั้งพระและพ่อแม่ คือ รับฟังคนของเรา และกำกับเรื่องวินัยได้ดี แจ๊คเล่าว่าในอดีตฝ่ายบุคคลถูกมองแบบผิดๆ เพราะว่า
a. เรื่องคนเป็นเรื่องที่จับต้องได้ยาก นอกจากนี้ คนส่วนใหญ่คิดว่าตนเองไม่มีปัญหาในการบริหารคน เรามักได้ยินบ่อยๆ ว่า “ผมให้ความสำคัญกับคน” แต่หาได้ทำหรือรู้จริงแต่อย่างใด กลับไม่คิดว่าต้องพึ่งฝ่ายบุคคล
b. ติดกับดักงานเอกสารและงานธุรการมากไป
c. สมัย ค.ศ. 1960-1970 ที่จีอีฝ่ายบุคคลจะเป็นเหมือนมาเฟียสามารถทำให้ใครรุ่งหรือร่วงได้ แถมไม่ค่อยมีกระบวนการโปรโมตที่เป็นระบบเท่าไรนัก
2. ประเมินผลงานด้วยวิธีการที่เป็นระบบแบบจริงจัง โดยมีแนวทาง คือ
a. ง่ายและชัดเจน การประเมินผลงานควรมีไม่เกินสองหน้ากระดาษ โดยบอกว่าทำอะไรได้ดี และต้องปรับปรุงอะไร
b. ต้องวัดกันที่ผลงานตามที่ได้ตกลงกันล่วงหน้า
c. แบบเป็นทางการอย่างน้อยปีละครั้ง ถ้าให้ดีทุก 6 เดือน อย่างไม่เป็นทางการทำบ่อยเท่าที่จะทำได้ ทุกวันหรือทุกโอกาสที่ทำงานร่วมกันกับคนของเรา บอกให้เขารู้ว่าเขาทำได้ดีมากน้อยเพียงใด และอยู่ในระดับไหนเมื่อเทียบกับคนอื่น
d. ต้องมีการระบุแผนงานพัฒนาและเรียนรู้ในการประเมินผลงานด้วย
3. มีระบบสำหรับการให้รางวัล จูงใจ การยอมรับผลงาน และฝึกอบรม อย่าปล่อยให้คนเก่งๆ ต้องมาลาออกเพราะว่าไม่มีคนหรือระบบที่บอกกับเขาว่า เขาทำงานได้ดีเพียงใด นอกจากนี้อย่าละเลยเรื่องฝึกอบรม โดยเฉพาะคนเก่งๆ เขาอยากยกระดับตัวเองให้ดียิ่งขึ้น
4. มีวิธีการแบบมืออาชีพเมื่อต้องจัดการเรื่องของคน คือ
a. สหภาพ สร้างสัมพันธภาพกับสหภาพตลอดเวลา หมั่นพูดคุย พบปะและสื่อสารกับสหภาพอย่างสม่ำเสมอ อย่ารอให้เกิดการสไตรก์แล้วค่อยมาสร้างสัมพันธภาพกัน
b. ดาวรุ่ง พวกดาวรุ่งอาจจะเป็นมารได้หากจัดการไม่ดี เมื่อใดก็ตามที่ดาวรุ่งเริ่มทำอะไรออกนอกลู่นอกทางแบบไม่ใช่มืออาชีพ อย่ากลัวหรือปล่อยให้เขาทำตามอำเภอใจ หัวหน้าภายใต้การสนับสนุนของฝ่ายบุคคล ต้องเรียกเขามาคุยทันที บอกสิ่งที่เขาทำผิดอย่างตรงไปตรงมา อย่าปล่อยให้ดาวรุ่งเอาบริษัทเป็นตัวประกัน และพร้อมหากว่าเขาลาออกให้มีคนแทนได้ใน 8 ชั่วโมง
c. พวกดีแล้วล้มไป บางคนอาจจะมาจากสาเหตุนานาประการที่เคยเก่งแล้วตกไป อาจจะต้องโยกย้ายหรือหาทางจุดประกายกระตุ้นให้เขาเก่งเหมือนเดิม อย่าปล่อยให้เสียของ บางครั้งทำให้คนอื่นติดเชื้อไปด้วย
d. พวกก่อกวน เผชิญหน้าแบบตรงไปตรงมา หลายๆ กรณีอาจจะต้องนำเขาออกจากพื้นที่ หลายคนแก้ไขลำบาก พวกนี้ทำให้เสียบรรยากาศเปล่าๆ
5. ที่จีอีสมัยแจ๊คมีการแบ่งคนตามผลงานเป็น 3 กลุ่ม คือ คนเก่ง 20% ปานกลาง 70% ต่ำ 10% พวกผลงานต่ำหากไม่ดีขึ้น จะถูกให้ออก แต่แจ๊คเตือนว่าอย่าลืมว่างานส่วนใหญ่ในองค์กรเดินไปได้ เพราะคนกลุ่มปานกลาง นี่คือกระดูกสันหลัง คือคนทำงานที่ก้มหน้าก้มตาทำงาน อย่าละเลยพวกเขา โดยไปมุ่งดูแลเฉพาะคนเก่งเท่านั้น แล้วลืมพัฒนาและจูงใจคนกลุ่มใหญ่ ใช้เวลากว่า 50% กับคนกลุ่มนี้ ประเมินเขา สอนเขา ให้กำลังใจเขา แจ๊คแนะนำว่าในกลุ่มคนระดับปานกลางนั้นก็มี 3 ระดับเช่นกัน ฉะนั้นต้องพัฒนาคนในกลุ่มนี้ตามระดับของเขา แจ๊คเน้นว่าการจัดกลุ่มนั้นเป็นไปตลอดเวลา อย่าคิดว่าอยู่ตรงไหนแล้วถูกตีตราตลอดไป ระบบมีไว้เพื่อให้คนตื่นตัวและพัฒนาตนเอง
6. จัดองค์กรให้แบนราบ องค์กรที่มีขั้นตอนมากก็เสียเวลาและค่าใช้จ่าย การลื่นไหลของข้อมูลช้ามีขั้นตอนสับสนวุ่นวาย ผู้จัดการควรมีสายงานบังคับบัญชาดูแลลูกน้องอย่างน้อยสิบคนที่รายงานตรงกับเขา พยายามมีคนรายงานตรงกับผู้จัดการแต่ละคนให้มากกว่า 30-50% ของระดับปกติ
บทสรุปทั้ง 3 สัปดาห์นี้ นำมาเล่าเพียง 3 บท ยังมีเหลือรอให้ท่านอ่านอีก 17 บท รีบไปหามาอ่านกันนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น