การบริหารสไตล์ Jack Welch

29.11.54
โดย http://www.mga.co.th/ เมื่อ 27 ก.ย.2544
Jack Welch 

เป็นผู้บริหารระดับสูง CEO ที่ปกครอง GE ตั้งแต่ปี 1980 และพึ่งเกษียณอายุไปหมาด ๆ เมื่อเดือนที่แล้ว (สิงหาคม)

โดยเป็นผู้นำสูงสุดที่ครองตำแหน่งนานถึง 21 ปี หากเรามาชำเแหละดูแนวทางการบริหารของเขาจะพบว่า เขามีทั้งความใส่ใจในตัวลูกน้องและสามารถสร้างแรงกดดันเกี่ยวกับงานให้กับ ลูกน้องได้ในเวลาเดียวกัน หากเรามาดูว่าอะไรที่แจ๊คได้ทำให้กับ GE ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา

 แจ็คเน้นการปรับตัวธุรกิจให้ทันกับสภาพแวดล้อมธุรกิจที่เปลี่ยนไป ไม่ว่ากระแสโลกาภิวัตน์, การแข่งขัน, คู่แข่งหน้าใหม่, เทคโนโลยี แจ็คสอนให้ยอมรับความจริง เผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจและให้มองการเปลี่ยนแปลงคือโอกาสในการ พัฒนาธุรกิจ

 แจ๊คตั้งเป้าหมายธุรกิจไว้สูง (ต้น ๆ ปีช่วง 1980 – 1985) เพื่อให้ลูกน้องเล็งเป้าหมายที่สูงรวมถึงให้ธุรกิจในกลุ่มต้องเป็นที่หนึ่ง หรือที่ 2 (To be number 1 or 2 in the business) หากทำไม่ได้ก็ให้ขายทิ้ง กฎของแจ๊คง่ายขายมัน, ปิดมันหรือปรับปรุงธุรกิจให้เป็นผู้นำให้ได้ จงทำธุรกิจที่คุณชำนาญที่สุดและมีโอกาสเป็นผู้นำมากที่สุด

 แจ็คเกลียดระบบการทำงานแบบราชการที่มากขั้นตอน รายงานและงานเอกสารมากมาย มีผู้กลั่นกรองส่งผ่านข่าวสารข้อมูลทำให้ชักช้าเสียเวลา Productivity ต่ำ แจ็คเริ่มระบบปรับโครงสร้างองค์กร ตัดพนักงานที่ไม่จำเป็นออก ให้เหลือแต่คนที่ทำงานจริง ๆ ลดขนาดองค์กร ตัดผู้บริหารระดับกลางออก แม้ว่าองค์กรหรือธุรกิจ GE ขณะนั้นจะมีผลกำไรงามและเติบโตสูงก็ตาม ผล คือ ยอดขายและผลกำไรต่อหัวของธุรกิจ GE มีสูงกว่าธุรกิจอื่น ๆ

 แจ็คสนับสนุนให้ใช้ประสบการณ์และความคิดสร้างสรรจากระดับกลางและล่างมากขึ้น การให้พนักงานมีส่วนร่วมในการปรับปรุงแก้ไขงานตนเองและทิศทางอนาคตของหน่วย งานตนเอง โดยเริ่มโครงการ Workout เป็นทีมงานที่มาจากหลาย ๆ ฝ่ายในองค์กรเพื่อพัฒนาธุรกิจทั้งลดต้นทุน, เพิ่มประสิทธิภาพและแหล่งรายได้ใหม่

นอกจากนี้แจ็คยังสนับสนุนให้องค์กรเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) แจ็คบังคับให้ค้นหาความคิดและดึงเอาประสบการณ์จากธุรกิจอื่น ๆ หรือฝ่ายอื่น ๆ ที่ไม่ใช่จากภายในหน่วยงานของตนเองมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจตนเอง มีการประชุมผู้บริหารแลกเปลี่ยนประสบการณ์ข้อมูลธุรกิจซึ่งกันและกันและบ่อย ครั้งพบว่า ความคิดของธุรกิจหนึ่งสามารถนำมาใช้กับอีกธุรกิจได้อย่างดีและนี่คือการ เรียนรู้ แจ็คเน้นเสมอว่าเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ให้เร็ว แล้วรีบนำความรู้ไปใช้ในธุรกิจตนเองอย่างกระหายและเร่งด่วน

 Workout Project (ปลายช่วง 1985 – 1990) จะให้พนักงานรวมกลุ่มเพื่อทำงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งในการปรับปรุงธุรกิจ ซึ่งจะทำให้ธุรกิจ มี 3 S

- Simplicity ผู้บริหารต้องกล้าให้แนวทางธุรกิจที่เข้าใจง่ายและง่ายต่อการปฏิบัติของพนักงานทั่วทั้งองค์กร

- Speed ผู้บริหารต้องให้สิทธิในการดำเนินงานแก้ระดับล่าง โดยระดับล่างเสนอความคิด ผู้บริหารต้องรีบอนุมัติหรือยกเลิกโครงการในวันท้าย ๆ ของ Workshop เมื่ออนุมัติโครงการแล้วต้องสนับสนุนเงินและบุคลากรแล้วไปให้พ้นทางทีมทำงาน อย่าไปวุ่นวายการปฏิบัติงานอีกให้รอดูผลงานของโครงการนำร่องภายใน 3 - 6 เดือน

- Self Confident ผู้บริหารต้องมั่นใจในตัวเองพอที่จะทำทุกอย่างให้ง่ายไม่มีขั้นตอนมากและ พนักงานเองก็จะมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้นจากการมีสิทธิตัดสินใจในหน้าที่ งานของตนเองและพอใจในผลงานและเห็นความสำคัญของงานที่ตนเองทำว่ามีผลต่อการ เติบโตของธุรกิจหรือองค์กร

 การเน้นคุณภาพด้วย Six Sigma (1990 – 1995) คือการเน้นคุณภาพในทุกรูปแบบทั้งบริการ, คุณภาพสินค้า, เวลาการทำงาน โดยพัฒนาคุณภาพให้มีข้อบกพร่องเพียง 3.4 จุดใน 1 ล้านครั้งของการทำงาน ทีมงาน Workout ได้ถูกนำมาใช้ในงานด้านคุณภาพ ผลดีก็คือ

- ลดงาน Rework ที่ของออกมาด้อยคุณภาพต้องไปทำใหม่ Productivity ก็สูงขึ้น
- ลูกค้าได้ของมีคุณภาพมากขึ้น ความพอใจสูงขึ้น

พนักงานทุกคนคิดแต่ว่าจะเพิ่มคุณภาพในสายงานผลิต บริการ การขนส่ง ลดเวลาทำงาน ส่งของได้ถูกต้อง มีคุณภาพสูง พนักงานถูกสอนให้รู้จักวิเคราะห์สาเหตุและผลที่มีต่อคุณภาพของ Output และรู้จักควบคุมปัจจัยที่มีต่อคุณภาพของ Output

 แจ็คเน้น GE ในการขยายตลาดและการเข้าสู่กระแสโลภาภิวัตน์ (Globalization) แรก ๆ ก็รู้จักส่งออก จากส่งออกเป็นย้ายโรงงานไปผลิตในประเทศอื่น ๆ ที่ใช้ป้อนตลาดท้องถิ่น ขั้นต่อมาคือ การหาแหล่งวัตถุดิบและจ้างงานใช้สมองหรือ Intelligent Capital ของคนท้องถิ่นในต่างประเทศ

Export  Global Production  Global Sourcing  Global Employment

นอกจากได้ขยายตลาดยังได้แหล่งวัตถุดิบ แรงงานถูก ต้นทุนถูกถือว่าเป็นโชค 2 ต่อเลยทีเดียว

 เพิ่มสายการให้บริการ Service โดย Product ทุกตัวจะต้องหาบริการเสริมบริการพ่วงไปกับสินค้าอย่างเป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อให้เกิด Total Solution จริง ๆ นอกจากขายสินค้าอย่างเดียว หลังขายสินค้าแล้วจะมี After Market บริการดูแลหลังการขาย ขายอะไหล่ชิ้นส่วน ของใช้สิ้นเปลืองพ่วง รวมถึงการใช้ธุรกิจบริการเป็นหัวหอกในการขยายธุรกิจ เช่น ธุรกิจการเงิน GE Capital, ธุรกิจข่าวสาร CNBC, ธุรกิจบริการพ่วง เช่น Medical Service, Power, Aerospace

 ท้ายสุดการเข้าสู่ระบบ Internet หรือ Digitization การนำธุรกิจเข้าสู่ Internet (1995 – 2000) 

ปัญหาของ GE ไม่ใช่การสร้างต้นแบบธุรกิจใหม่หมด เพราะ GE มีต้นแบบธุรกิจที่แข็งแกร่งอยู่แล้วเพียงแต่จะปรับระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ ทาง Off – line เป็นธุรกิจ On-line ได้อย่างไร

1. การปรับระบบปฏิบัติการและขบวนการธุรกิจ จาก Off-line เป็น On-line ตั้งแต่ Buying, Making, Selling, Strategy
 
   1.1 การจัดซื้อ, การประมูล Auction เพื่อประหยัดในการซื้อและเพิ่มความเร็วในการจัดซื้อ ขนส่ง รับของแบบอัตโนมัติ ลดสต๊อกและ Leadtime กับ Supplier GE เอง
 
   1.2 ขบวนการผลิต ช่วยให้ข้อมูลถ่ายเทซึ่งกันและกัน มีการวัดผลแบบทันควัน Real Time ทำให้แก้ไขปัญหาการผลิตได้อย่างรวดเร็วเพิ่มทั้งคุณภาพและ Productivity
 
   1.3 การตลาดสามารถเพิ่มช่องทางใหม่ หาลูกค้าใหม่ ตลาดใหม่ โดยผ่านพาณิชย์อิเล็คโทรนิค (E commerce) การร่วมมือกับคู่ค้าในการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลการค้าและการตอบสนองลูกค้า แบบรวดเร็ว (Quick Response)
 
   1.4 ด้านกลยุทธ์ การใช้อินเทอร์เน็ตทำให้การสื่อสารในองค์กรเป็นไปอย่างรวดเร็วไม่ติดขัด การผ่านเรื่องนโยบายคำสั่งจากผู้บริหารระดับสูงมายังระดับปฏิบัติการและการ ส่งเรื่องร้องเรียนและข้อเสนอแนะไปยังผู้บริหารระดับสูง รวมถึงการแชร์แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และข่าวสารข้อมูลทั่วทั้งองค์กร การให้ระบบ E learning การสื่อสารวิดีโอการประชุมในระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเพื่อให้เกิด ความร่วมมือทั้งองค์กรและกับคู่ค้าและลูกค้า โดยต้นแบบธุรกิจของ GE ยังคงเดิม ใช้ความถนัดความเชี่ยวชาญเดิมของ GE เพียงแต่ให้การปฏิบัติการเดิมมาอยู่ในรูปเว็ป (Web Enabled base) เท่านั้น

2. การสร้างรายได้ใหม่โดยเปลี่ยนจากแค่ทำโบชัวร์อิเล็คโทรนิคเป็นการทำให้เกิดธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ตให้ได้ (Transaction)

โดยสรุปแจ็คได้เน้น Speed หรือความเร็วในการปรับธุรกิจให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

- ลดระบบปฏิบัติการแบบราชการนิยม (Boundaryless)
- ทำธุรกิจที่ตนเองมีความถนัดได้เปรียบที่สุด (To be number 1 or 2)
- เน้นการมีส่วนร่วมในการบริหารของพนักงาน (Workout)
- Learning Organization เรียนรู้จากธุรกิจอื่น ๆ ลอกเลียนกลยุทธ์หากนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจตนเองได้
- Six Sigma เน้นคุณภาพทั่วทั้งองค์กรที่ลูกค้าสามารถรู้สึก เห็น สัมผัสได้และมีผลต่อรายได้ของลูกค้าหรือความคุ้มค่าของลูกค้า
- Globalization ขยายตลาดและแหล่งการผลิตการจัดซื้อและการจ้างงานใหม่ๆ
- Service เพื่อขยายแหล่งรายได้ใหม่และสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขันผสมบริการเข้ากับผลิตภัณฑ์ที่ขายให้เป็นเนื้อเดียวกัน
- Digitization ตะปูตัวสุดท้ายในการปิดฝาโลงระบบราชการนิยม และเพิ่มความเร็วในการดำเนินธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น